Page 32 - kpi16607
P. 32
ดุลอำนาจ ในการเมืองการปกครองไทย
แต่ละรูปแบบที่ดำรงอยู่ เมื่อขยายตัวมากเกินไปหรือสุดโต่งก็จะกลายเป็นปัจจัยที่
นำไปสู่ความเสื่อม และในบั้นปลายชีวิตของเพลโตในบทสนทนาชื่อ the
Laws
เขาก็ได้แนะนำหนทางที่รักษาเสถียรภาพของรูปแบบการปกครองที่ไม่ใช่รูปแบบ
การปกครองในโลกของแบบ โดยผ่านการตรวจสอบถ่วงดุล ส่วนใน Politics
29
อริสโตเติลได้จำแนกให้เห็นถึง รูปแบบการปกครองที่ดีที่สุดที่เป็นอุดมคติสูงสุด
(the best ideal) และรูปแบบการปกครองที่ดีที่สุดที่เป็นไปได้ (the best
possible) รวมทั้งรูปแบบการปกครองที่ดำรงอยู่ (existing) และเขาก็ได้เรียนรู้
และขยายผลจากสิ่งที่เพลโตกล่าวไว้เป็นนัยไว้ในรายละเอียด โดยกล่าวถึงรูปแบบ
การปกครองที่เรียกว่า “Polity” และ “รูปแบบการปกครองแบบผสม” ในฐานะ
30
ที่เป็นรูปแบบการปกครองที่สามารถเกิดขึ้นจริงและมีเสถียรภาพมั่นคง
Kurt von Fritz กล่าวว่า ทฤษฎีการปกครองแบบผสมได้ปรากฏขึ้นครั้งแรก
ในเล่มสามของ the
Law ที่เพลโตได้เขียนถึงข้อตกลงระหว่างสามนครรัฐใน
เพโลพอนนีส อันได้แก่ Argos, Lacedaemon, และ Messene ที่มีสัญญากันว่า
24 หากผู้ปกครองหรือกษัตริย์ของนครรัฐใดใช้อำนาจเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด หรือ
ประชาชนพยายามที่ลดพระราชอำนาจอันชอบธรรมของกษัตริย์ นครรัฐอีก
สองนครจะต้องเข้ามาช่วยฝ่ายที่ถูกละเมิด และในเล่มสามของ the Laws นี้เอง
ในส่วนของการวิเคราะห์การปกครองของสปาร์ตา เพลโตยังเขียนถึงทฤษฎีการ
ปกครองแบบผสมนี้อีกครั้งอย่างละเอียดชัดเจน โดยกล่าวว่าจิตวิญญาณของ
มนุษย์ไม่สามารถถือครองอำนาจอธิปไตยหรืออำนาจสูงสุดได้ ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
ในหมู่มนุษย์ก็ยังมีความไร้เหตุผล ซึ่งถือเป็นอาการที่ร้ายแรงที่สุดอันก่อให้เกิด
ความเกลียดชังระหว่างกัน เพลโตได้เขียนว่า เทพเจ้าผู้เห็นปัญหานี้ ได้ให้สปาร์ตา
มีกษัตริย์สองพระองค์เพื่อที่จะทำให้อำนาจของแต่ละคนใกล้เคียงกับความถูกต้อง
ที่สุด ดังนั้น ผู้ที่ได้แรงบันดาลใจแห่งเทวะ เมื่อเขาเห็นว่าอำนาจอธิปไตยอยู่ใน
สภาวะที่ควบคุมไม่ได้ จึงผสมผสานอำนาจอธิปไตยด้วยสภาที่ปรึกษาอาวุโส และ
ในที่สุดเมื่ออำนาจอธิปไตยก็ยังไม่ปราศจากซึ่งความทระนง เขาก็จะผูกไว้ด้วย
29 Plato, the Laws, Book III.
30 C. Johnson, “Aristotle’s Polity: Mixed or Middle Constitution?” History
of
Political
Thought
Volume IX, Issue 2, Summer 1988, pp. 189-204.
สถาบันพระปกเกล้า