Page 27 - kpi16607
P. 27

ดุลอำนาจ   ในการเมืองการปกครองไทย





                   วัฏจักร ทั้งในงานของพินดาร์และเฮโรโดตัส  กระนั้นก็ดีเราจะเห็นได้ว่าใน
                                                            20
                   ข้อถกเถียงข้างต้นนี้แสดงให้เห็นเค้าลางของการวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของรูปแบบ
                   การปกครองทั้งสามรูปแบบ ซึ่งต่อมาได้ปรากฏชัดเจนอย่างเป็นระบบขึ้นในงาน
                   ของเซโนฟอน เพลโต และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานของอริสโตเติล


                         สำหรับเซโนฟอน (430-354 ก่อนคริสตกาล) เพลโต (428-348
                   ก่อนคริสตกาล) และอริสโตเติล (384-322 ก่อนคริสตกาล) โดยตามช่วงอายุ

                   ของคนทั้งสาม นอกจากจะรับรู้ถึงการมีอยู่ของรูปแบบการปกครองทั้งสามแบบ
                   แล้ว พวกเขายังรับรู้ถึงการสิ้นสุดลงของรูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตย

                   ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาธิปไตยเอเธนส์ รวมทั้งช่วงสั้น ๆ ของการยึดอำนาจ
                   เปลี่ยนแปลงการปกครองแบบประชาธิปไตยกลับไปสู่รูปแบบการปกครองแบบ
                   คณาธิปไตยในปี 411 ก่อนคริสตกาลด้วย และจากการมองเห็นภาพรวมของ
                   รูปแบบการปกครองทั้งสามและเห็นการสิ้นสุดลงของรูปแบบการปกครองแบบ

                   ประชาธิปไตยของเอเธนส์

                         ในข้อเขียนของเซโนฟอนชื่อ The Education of Cyrus (Kurou paideia       1

                   or Cyropaedia) ในบทขึ้นต้น ปรากฏข้อความที่สะท้อนให้เห็นถึงมุมมองมองการ
                   เปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองทั้งสาม ดังที่เขาได้กล่าวว่า “ภาพสะท้อนที่เกิด
                   ขึ้นต่อเราก็คือ: กี่ครั้งที่ประชาธิปไตย (democracies)  ถูกโค่นล้มลงโดยกลุ่ม
                                                                   21

                      20  
 สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับการแบ่งประเภทของรูปแบบการปกครองทั้งสามนี้ของ
                   พินดาร์ (Pindar) และข้อถกเถียงเกี่ยวกับข้อดี-ข้อเสียของรูปแบบการปกครองดังกล่าวของ
                   เฮโรโดตัส ดูเพิ่มเติมในภาคผนวก
                      21   Xenophon, The Education of Cyrus, translated and annotated by Wayne
                   Ambler, (Ithaca: Cornell University Press: 2001), p. 21. ในฉบับแปลงานชิ้นนี้ของ
                   เซโนฟอน โดย Wayne Ambler ใช้คำว่าประชาธิปไตยในลักษณะของพหูพจน์ (democracies)
                   ซึ่งสามารถตีความได้สองกรณี นั่นคือ หนึ่ง ประชาธิปไตยในนครรัฐกรีกโบราณมิได้อุบัติขึ้นที่
                   เอเธนส์เป็นที่แรกที่เดียว แต่เกิดขึ้นที่อื่นอีกด้วยในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ดังปรากฏในการค้นคว้า
                   วิจัยของ Eric W. Robinson, The First Democracies: Early Popular Government
                   Outside Athens, (Franz Steiner Verlag: 1997) และอีกชิ้นหนึ่งของเขา Democracy
                   Beyond Athens: Popular Government in the Greek Classical Age, (Cambridge:
                   Cambridge University Press: 2011). สอง ประชาธิปไตยกรีกโบราณอุบัติขึ้นที่เอเธนส์เป็นแห่ง
                   แรกและแพร่กระจายไปยังนครรัฐกรีกอื่นๆ ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งในเรื่องรูปแบบการปกครอง




                                                                                   สถาบันพระปกเกล้า
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32