Page 25 - kpi16607
P. 25
ดุลอำนาจ ในการเมืองการปกครองไทย
1. รูปแบบการปกครองที่อำนาจทางการเมืองอยู่ที่คนๆเดียว (the One) 2. รูปแบบ
การปกครองที่อำนาจทางการเมืองอยู่ที่กลุ่มคน (the Few) และ 3. รูปแบบ
การปกครองที่อำนาจทางการเมืองอยู่ที่มหาชน (the Many) และภายใต้มุมมอง
ของทฤษฎีการปกครองแบบผสมพบว่า รูปแบบการปกครองในแต่ละแบบทั้งสาม
แบบนี้มีปัญหาในด้านเสถียรภาพและความมั่นคง และมักเกิดปรากฎการณ์ที่
อำนาจทางการเมืองแกว่งตัวไปมาระหว่างการที่อำนาจอยู่ที่คน ๆ เดียว, กลุ่มคน
และมหาชน อันนำไปสู่กรอบคิดเรื่องวัฎจักรของรูปแบบการปกครอง (the
cyclical change of constitutions) ที่อำนาจทางการเมืองแกว่งวนไปมาในสาม
รูปแบบดังกล่าว ซึ่งการพิจารณาจัดแบ่งรูปแบบการปกครองและการเล็งเห็น
ปัญหาความไร้เสถียรภาพนี้เป็นผลมาจากประสบการณ์ทางการเมืองการปกครอง
ของชนชาวกรีกโบราณ และส่งต่อไปยังยุคโรมันด้วย ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการเมือง
15
การปกครองกรีกโบราณอย่างแฮนเซน (Morgens Herman Hansen) ได้กล่าวว่า
“เป็นที่รู้กันว่าคนกรีกโบราณได้แบ่งแยกรูปแบบการปกครองออกเป็นสามประเภท
นั่นคือการปกครองโดยคน ๆ เดียว การปกครองโดยกลุ่มคน และการปกครอง
โดยคนจำนวนมาก การแบ่งประเภทของรูปแบบการปกครองทั้งสามนี้ดูจะเริ่มต้น 1
ปรากฏในเห็นเป็นครั้งแรกในงานของกวีที่ชื่อ พินดาร์ (Pindar) และปรากฏต่อมา
ในข้อถกเถียงเกี่ยวกับรูปแบบการปกครองในงานที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปของ
เฮโรโดตัส และต่อมามันได้กลายเป็นรากฐานสำคัญที่เก่าแก่ที่สุดอันหนึ่งของการ
16
คิดถกเถียงเกี่ยวกับประเภทและรูปแบบการปกครองต่าง ๆ
แต่ในบริบท
15 Slan Lewis กล่าวว่า “ทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการรูปแบบการปกครองในยุคกรีกโบราณถูก
สร้างขึ้นบนฐานข้อสังเกตของทูซิดีดีส (Thucydides) ที่บรรยายว่า ชุมชุนกรีกโบราณปกครอง
โดยกษัตริย์ และต่อมาถูกโค่นล้มและแผ้วทางไปสู่การปกครองของกลุ่มอภิชน ซึ่งต่อมาถูกแทนที่
ด้วยระบอบทรราช และหลังจากนั้นอีกประมาณร้อยปี ทรราชก็ถูกขับไล่ออกไปและแผ้วทางไปสู่
รูปแบบการปกครองที่เปิดกว้างขึ้นในหมู่มหาชน” ดู Slan Lewis, Greek Tyranny, (Bristol:
Phoenix Press: 2009), pp. 16-17.
16 Mogens Herman Hansen, Reflections on Aristotle’s Politics, (Copenhagen:
Museum Tusculanum Press, University of Copenhagen: 2013), p. 1: “The Greeks, as is
well known, distinguished between three different types of constitution: the rule of
the one, the rule of the few, and the rule of the many. This threefold division can be
traced back to Pindar, (Pind. 522-443, Pyth. 2. 86-88), it occurs in Herodotus’
famous debate on the constitutions, (Hdt. 3.80-82) and it became the foundations of
most ancient discussions of the typology of states.”
สถาบันพระปกเกล้า