Page 20 - kpi16607
P. 20

ดุลอำนาจ   ในการเมืองการปกครองไทย





               ประเด็นเรื่องขอบเขตของพระราชอำนาจขององค์พระมหากษัตริย์ภายใต้ระบอบ

               การปกครองใหม่ที่จำกัดพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์ (Limited Monarchy:
               ปรมิตตาญาสิทธิราชย์) จึงยังไม่มีความลงตัวชัดเจนแน่นอนอย่างที่เป็นอยู่ใน
               ปัจจุบัน ซึ่งเดนมาร์คต้องรอเวลาให้สถาบันทางการเมืองอื่นๆ และประชาชน

               ในระบอบการปกครองใหม่นี้ได้พัฒนา และพัฒนาการของสังคมโดยรวมนี้เองที่จะ
               ร่วมกันกำหนดทิศทางและขอบเขตที่เหมาะสมของความสัมพันธ์ระหว่างสถาบัน
               การเมืองอื่นๆ และประชาชนกับการใช้พระราชอำนาจขององค์พระมหากษัตริย์

               ในที่สุด


                     ดังนั้น ถ้าพิจารณาการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองของไทยภาย
               ใต้กรอบความคิด “unilinear” การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทย พ.ศ. 2475
               และการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองของเดนมาร์ค ค.ศ. 1849 ย่อมเข้า
               ข่ายการเปลี่ยนแปลงในเชิงพัฒนาการความก้าวหน้า นั่นคือ การสิ้นสุดของ

               ระบอบโบราณอย่างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบ
          12   “ประชาธิปไตย” ซึ่งจะ “เสรี” แค่ไหนใน พ.ศ. 2475  และแค่ไหนในกรณีของ
               เดนมาร์คใน ค.ศ. 1849? ก็ต้องพิจารณาจากเกณฑ์ของความเป็น “เสรี

               ประชาธิปไตย” ซึ่งก็ยังมีเกณฑ์ในลักษณะที่เป็นเกณฑ์พื้นฐาน (basic) และ
               เกณฑ์ในลักษณะที่ก้าวหน้า (advance)  และแน่นอนว่าหลังการเปลี่ยนแปลง
                                                   9
                                                   10
               การเมืองการปกครองของทั้งสองประเทศ  จะพบกับปรากฏการณ์ทางการเมือง
               ที่ยศเรียกว่าอาการ “การแกว่งไปแกว่งมา” หรือ “เหวี่ยงไปเหวี่ยงมา”
               (momentum) ซึ่งปรากฏการณ์ที่ว่านี้ ถ้าวินิจฉัย (diagnose) ภายใต้กรอบ
               แนวคิดแบบ “unilinear” ที่เชื่อในแบบแผนพัฒนาการความก้าวหน้า (progress)

               ก็อาจจะลงความเห็นได้ว่าเป็นอาการถดถอย (regress) หรือ “ถอยหลังเข้าคลอง”


               
   9    ในประเด็นการพิจารณาความเป็น “เสรีประชาธิปไตย” ในกรณีของเดนมาร์ค ดูได้จาก
               บทความของ Tim Knudsen and Uffe Jakobsen, “The Danish Path to Democracy,”
                             nd
               Paper for the 2  ECPR General Conference – Marburg 18-21 September 2003,
               Section 20: Historical Sociology of the State, Panel 20-3: Comparative Democratization
               in Scandinavia, 1848-1921 และผู้เขียนได้นำประเด็นนี้มากล่าวไว้ในงานวิจัยนี้แล้ว
                  10   ในกรณีของเดนมาร์คคือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญในปี ค.ศ. 1866 และการเพิ่มพระราช-
               อำนาจของพระมหากษัตริย์




         สถาบันพระปกเกล้า
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25