Page 21 - kpi16607
P. 21
ดุลอำนาจ ในการเมืองการปกครองไทย
เป็นอาการที่ไม่พึงประสงค์และไม่ควรจะเกิดขึ้น ขณะเดียวกัน ยศก็ได้กล่าวถึง
กรอบคิดที่เกิดจากการศึกษาสังคมการเมืองพม่าของนักมานุษยวิทยาชั้นนำ
ชาวอังกฤษอย่าง Edmund Leach ที่อ้างถึงลักษณะเฉพาะตัว (uniqueness) ของ
11
การเมืองพม่า
นั่นคือ ปรากฏการณ์การแกว่งตัวไปมา (oscillation) ของ
ขั้วอำนาจทางการเมือง ซึ่ง ยศ เห็นว่า หากนำตัวแบบเฉพาะดังกล่าวของ Leach
มาพิจารณาการเมืองไทย ก็จะพบข้อมูลเชิงประจักษ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงการแกว่ง
ไปมาระหว่างเผด็จการกับประชาธิปไตยวนเวียนไปมาตลอดระยะเวลาแปดสิบกว่า
หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองที่มีการทำรัฐประหารเป็นช่วงๆ ยศ จึงชี้ชวนให้ตั้ง
คำถามกับการใช้กรอบแนวคิดแบบ “unilinear” ในการพิจารณาศึกษาการเมือง
ไทย ขณะเดียวกัน หากเชื่อหรือสมาทานในตัวแบบเฉพาะของปรากฏการณ์การ
แกว่งตัวของอำนาจการเมือง ยศ ก็ตั้งคำถามต่อความชอบธรรมในการพยายามทำ
วิจัยในโครงการ “ออกแบบประเทศไทย” (redesigning Thailand) ว่าจะเป็น
ประโยชน์เพียงใด หากในที่สุดแล้ว ความเป็นจริงหรือเงื่อนไขของการเมืองไทยคือ
การต้องดำรงอยู่ในลักษณะของการแกว่งตัวไปมาดังกล่าวนี้ตลอดไป 13
ผู้เขียนเห็นว่า การตั้งประเด็นข้อสงสัยและการนำเสนอให้เห็นกรอบแนวคิด
ใหญ่ ๆ ที่ขัดแย้งแตกต่างกัน---นั่นคือกรอบมุมมองในแบบ “unilinear” และกรอบ
มุมมองในแบบ “ลักษณะเฉพาะตัว” (uniqueness) ในแบบการแกว่งตัวไปมา
ของอำนาจทางการเมือง (oscillation)-----ของยศมีประโยชน์อย่างยิ่งในทาง
วิชาการทางสังคมศาสตร์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อประเด็นปัญหาเรื่องดุลอำนาจ
ทางการเมืองของไทย ผู้เขียนตระหนักว่า มุมมองทั้งสองนี้มีทั้งจุดอ่อนและจุดแข็ง
ซึ่งก็เป็นที่รับรู้กันอยู่ในแล้วในหมู่นักวิชาการทางสังคมศาสตร์ นั่นคือ จุดแข็งของ
มุมมองแบบ “unilinear” อยู่ที่การมีอยู่ของสิ่งที่เรียกว่า “มาตรฐานความ
ก้าวหน้าที่เป็นสากล” ของสังคมมนุษย์ ส่วนข้อเสียก็คือส่วนกลับของข้อดี นั่นคือ
หากสังคมใดดำรงอยู่อย่างแตกต่างจาก “มาตรฐานความก้าวหน้า” ที่มักจะถูก
กำหนดขึ้นโดยประเทศตะวันตกที่เป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจการเมืองก็จะถูก
11
ดู Edmund Ronald Leach, Political systems of highland Burma : a study of
Kachin social structure, (Cambridge,Mass.: Harvard University Press: 1954) และ
The
Frontiers of “Burma”, (Cambridge : Cambridge University, 1958)
สถาบันพระปกเกล้า