Page 23 - kpi16607
P. 23

ดุลอำนาจ   ในการเมืองการปกครองไทย





                   พระมหากษัตริย์กลับขึ้นมาอีกและพัฒนาไปสู่ระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้

                   รัฐธรรมนูญ ส่วนฝรั่งเศส หลังการปฏิวัติ ค.ศ. 1789 ได้ผ่านช่วงเวลาของการ
                   ปกครองต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบอบที่อำนาจอยู่สภาประชาชนโดยไม่มีตำแหน่ง
                   ผู้นำฝ่ายบริหาร หรือระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญแบบอังกฤษ แต่ก็

                   ไม่ประสบความสำเร็จนั่นคือขาดเสถียรภาพและประสิทธิภาพทางการเมือง
                   จนในที่สุดมาลงเอยด้วยระบอบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี


                         จากตัวแบบหลักสามแบบที่แตกต่างกันแต่อยู่ร่วมกันภายใต้ชื่อ “เสรี
                   ประชาธิปไตย” เราจะสามารถใช้กรอบมุมมอง “unilinear” ในการอธิบาย

                   ตัวแบบการปกครองทั้งสามนี้ได้อย่างเต็มปากเต็มคำแค่ไหนและเพียงไร โดยไม่
                   คำนึงถึง “ลักษณะเฉพาะตัว” ของแต่ละประเทศ? นอกเสียจากว่าจะมีเหตุผล
                   ข้อโต้แย้งว่า ในที่สุดแล้วตัวแบบที่แตกต่างกันทั้งสามนี้จะต้องลงเอยด้วยตัวแบบใด
                   ตัวแบบหนึ่งเท่านั้น อย่างที่มีการให้เหตุผลว่าในที่สุดแล้วสถาบันพระมหากษัตริย์

                   ในระบอบรัฐสภาหรือที่เรียกว่าระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ
                   จะต้องสิ้นสุดลงและลงเอยด้วยระบอบประธานาธิบดีหรือระบอบกึ่งรัฐสภา 
          1
                   กึ่งประธานาธิบดี เพราะระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญเป็นเพียง

                   ระบอบในช่วงของการเปลี่ยนผ่านจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่เป้าหมาย
                   สุดท้าย นั่นคือระบอบเสรีประชาธิปไตยที่ปราศจากซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์
                   แต่กระนั้นก็มีการให้เหตุผลข้อโต้แย้งว่า การปกครองในแบบพระมหากษัตริย์ภายใต้

                   รัฐธรรมนูญก็จำเป็นต้องเป็นเพียงแค่ทางผ่านจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
                   ไปสู่ระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ แต่การปกครองแบบพระมหากษัตริย์
                   ภายใต้รัฐธรรมนูญสามารถเป็นระบอบการปกครองที่มีคุณค่าเฉพาะในตัวระบอบ

                   เองที่แตกต่างจากคุณค่าของระบอบประชาธิปไตยในรูปแบบอื่น ๆ  แต่กระนั้น
                                                                             12
                   ก็ยังสามารถบรรลุหลักการของเสรีประชาธิปไตยได้ และถือได้ว่าอยู่ภายใต้ระบอบ
                   เสรีประชาธิปไตยร่วมกัน ซึ่งหลักเสรีประชาธิปไตยนี้ถือกำเนิดขึ้นในบริบทสมัย

                   ใหม่ และมีความแตกต่างอย่างสำคัญและชัดเจนจากประชาธิปไตยกรีกโบราณ
                   ที่เอเธนส์ ดังนั้น จากที่กล่าวมานี้ กรอบมุมมองในแบบ “unilinear” ก็ยังมีความ

                   
  12   ดู มารค ตามไท, “การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น
                   ประมุข (2543),” ใน มารคแห่งปัญญา มารคของมารค ตามไท: รวมบทความของมารค ตามไท
                   ระหว่าง พ.ศ. 2521-2547, (เชียงใหม่: โรงพิมพ์จตุพร: 2551), หน้า 165-185.




                                                                                   สถาบันพระปกเกล้า
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28