Page 26 - kpi16607
P. 26

ดุลอำนาจ   ในการเมืองการปกครองไทย





               กรีกโบราณการปกรองโดยคนจำนวนมากมิได้เป็น “รูปแบบการปกครองเดียวที่

               เป็นทางเลือกหรือควรต้องเลือก” อย่างที่ ผศ. ดร.ศุภมิตร ปิติพัฒน์ได้กล่าวถึง
               บริบทของกระแสการเมืองในยุโรปในศตวรรษที่สิบเก้าว่า การปกครองแบบ
               ประชาธิปไตย (democracy) ยังไม่ใช่ระบอบการปกครองที่เป็นตัวเลือกที่ดีเพียง

               ตัวเลือกเดียว (the only game in town) เหมือนอย่างในบริบทปัจจุบัน เพราะ
                                                                             17
               หากศึกษาความคิดทางการเมืองกรีกโบราณก็จะพบว่า การปกครองแบบ
               ประชาธิปไตยก็ยังไม่ใช่ระบอบการปกครองที่เป็นตัวเลือกที่ดีเพียงตัวเลือกเดียว

               ดังที่ Roger Scruton ได้กล่าวในทำนองเดียวกันนี้ว่า “นักคิดกรีกโบราณได้เตือน
               ให้ตระหนักว่าประชาธิปไตยนั้นเป็นเพียงหนึ่งในหลากหลายรูปแบบการ
               ปกครองเท่านั้น ไม่ได้มีคุณค่าอะไรพิเศษในตัวเองเหนือรูปแบบการปกครอง

               อื่นๆ”  อย่างที่แฮนเซนกล่าวข้างต้น การแบ่งประเภทของรูปแบบการปกครอง
                     18
               ทั้งสามนี้ดูจะเริ่มต้นปรากฏในเห็นเป็นครั้งแรกในงานของกวีที่ชื่อ พินดาร์
               (Pindar) และปรากฏต่อมาในข้อถกเถียงเกี่ยวกับรูปแบบการปกครองในงานที่เป็น

               ที่รู้จักกันทั่วไปของเฮโรโดตัส และต่อมามันได้กลายเป็นรากฐานสำคัญที่เก่าแก่
          1    ที่สุดอันหนึ่งของการคิดถกเถียงเกี่ยวกับประเภทและรูปแบบการปกครองต่าง ๆ 19

               โดยงานชิ้นบุกเบิกทั้งสองนี้ได้นำเสนอรูปแบบการปกครองสามรูปแบบ แต่ยังไม่

               ปรากฏแนวความคิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองทั้งสามในเชิง

                  17   ไชยันต์ ไชยพร, รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยเรื่อง “สถาบันพระมหากษัตริย์
               ไทยภายใต้รัฐธรรมนูญของไทย: ปัญหาในการเปรียบเทียบอ้างอิงกับระบอบการปกครองที่เป็น
               ตัวแบบในต่างประเทศ,” หน้า 162-164. โครงการวิจัยภายใต้โครงการศูนย์ประสานงาน
               โครงการวิจัยเชิงนโยบาย ด้านสถาบันการเมืองและนโยบายต่างประเทศ (CCPR) ทุนสนับสนุน
               จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
                  18   Roger Scruton, Limits to Democracy, http://www.newcriterion.com/articles.cfm/
               limits-to-demo-1430)
                  19   Mogens Herman Hansen, Reflections on Aristotle’s Politics, (Copenhagen:
               Museum Tusculanum Press, University of Copenhagen: 2013), p. 1: “The Greeks, as is
               well known, distinguished between three different types of constitution: the rule of
               the one, the rule of the few, and the rule of the many. This threefold division can be
               traced back to Pindar, (Pind. 522-443, Pyth. 2. 86-88), it occurs in Herodotus’
               famous debate on the constitutions, (Hdt. 3.80-82) and it became the foundations of
               most ancient discussions of the typology of states.”




         สถาบันพระปกเกล้า
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31