Page 22 - kpi16607
P. 22
ดุลอำนาจ ในการเมืองการปกครองไทย
พิพากษาว่า “ด้อยพัฒนา” “ล้าสมัย” “ต่ำกว่ามาตรฐาน” และ “ถดถอย”
ส่วนจุดแข็งของมุมมองในแบบ “uniqueness” คือ การยอมรับในความแตกต่าง
หลากหลายทางวัฒนธรรม ซึ่งวัฒนธรรมในที่นี้กินความหมายที่กว้างขวางที่สุด
โดยรวมถึงวิถีเศรษฐกิจสังคมและการเมือง ส่วนจุดอ่อนคือ การไม่สามารถ
กำหนดมาตรฐาน วิถีหรือแบบแผนที่ดีหรือที่ควรจะเป็นหรือเกิดขึ้นสำหรับสังคม
มนุษย์โดยรวมได้เลย ภายใต้มุมมองแบบเฉพาะตัวที่ว่านี้ ไม่สามารถประเมินได้ว่า
การแกว่งตัวไปมาของอำนาจทางการเมืองบ่งบอกถึงความก้าวหน้า (progress)
หรือความถดถอย (regress) แต่ประการใด ขณะเดียวกัน ยิ่งกว่านั้น ลักษณะ
เฉพาะตัวที่ว่านี้ไม่ได้มีเพียงแค่ปรากฏการณ์การแกว่งตัวไปมาของอำนาจทาง
การเมืองที่ Leach พบในการเมืองพม่าหรือที่เราอาจจะมองการเมืองไทยเท่านั้น
แต่ลักษณะเฉพาะตัวทางการเมืองของสังคมต่างๆ ในโลกนี้อาจจะแตกต่าง
หลากหลายกันไปในรูปลักษณ์ต่างๆ ขณะเดียวกัน หากนำกรอบมุมมองทั้งสองมา
พิจารณาในรายละเอียดทางประวัติศาสตร์อย่างจริงจังและระมัดระวังจะพบ
ข้อสังเกตที่น่าสนใจ อย่างในกรณีของกรอบมุมมองในแบบ “unilinear” ที่ปรากฏ
14 ในงานของ Fukuyama ที่มองว่าระบอบการเมืองการปกครองต่างๆ อาทิ ระบอบ
พระมหากษัตริย์ที่สืบสายโลหิต, ฟาสซิสม์ และคอมมิวนิสม์ ล้วนวิวัฒนาการมาสู่
เป้าหมายสุดท้ายเดียวกัน นั่นคือระบอบเสรีประชาธิปไตย (liberal democracy)
แต่ขณะเดียวกัน ระบอบเสรีประชาธิปไตยก็ยังมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน
ดังที่กล่าวไปข้างต้นแล้วอันได้แก่ ระบอบประธานาธิบดี ระบอบรัฐสภาที่มี
พระมหากษัตริย์เป็นประมุข และระบอบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี โดยมี
สหรัฐอเมริกา อังกฤษและฝรั่งเศสเป็นต้นแบบของระบอบทั้งสามนี้ตามลำดับ
โดยระบอบประธานาธิบดีถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศที่เพิ่งเกิดใหม่อย่าง
สหรัฐอเมริกา ด้วยเหตุผลที่สหรัฐอเมริกาปฏิเสธรูปแบบการปกครองที่มีสถาบัน
พระมหากษัตริย์ที่สืบสายโลหิต ไม่ว่าจะเป็นระบอบที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์
ภายใต้รัฐธรรมนูญหรือระบอบรัฐสภาที่มีอังกฤษเป็นต้นแบบ ทั้งนี้มิพักต้องพูดถึง
ระบอบพระมหากษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ส่วนอังกฤษนั้นได้ผ่าน
สงครามกลางเมืองระหว่าง ค.ศ. 1642-1649 และมีการปฏิวัติโค่นล้มสถาบัน
พระมหากษัตริย์ไปแล้ว และอังกฤษยังได้ผ่านช่วงเวลาที่ปกครองโดยสามัญชน
ที่คล้ายกับตำแหน่งประธานาธิบดีมาแล้ว แต่ในที่สุดก็ต้องฟื้นฟูสถาบัน
สถาบันพระปกเกล้า