Page 17 - kpi16607
P. 17

ดุลอำนาจ   ในการเมืองการปกครองไทย





                         ซึ่งถ้าพิจารณาจากแนวความคิดเรื่อง “uniliear” และข้อสรุปของ

                   Fukuyama ลงไปในรายละเอียดในประวัติศาสตร์การเมืองการปกครอง เราจะเห็น
                   ได้ว่า ในยุคโบราณ การปกครองในสังคมต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่--แต่ไม่ทั้งหมด---
                   จะเริ่มต้นด้วยระบอบราชาธิปไตย-อภิชนาธิปไตยและผ่านเข้าสู่ระบอบศักดินา

                   และเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบอบเสรีประชาธิปไตย ระบอบพระมหากษัตริย์ที่สืบสาย
                   โลหิตเคยเป็นระบอบที่ดำรงอยู่ทั่วไปอย่างชอบธรรมจนกระทั่งศตวรรษที่สิบแปด
                   เป็นต้นมาจนปัจจุบัน ได้เริ่มมีการปฏิวัติและการเปลี่ยนแปลงอันทำให้ระบอบ

                   ราชาธิปไตยในแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สิ้นสุดลง---แม้จะไม่หมดไปเลย
                   เสียทีเดียว-----และเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบอบเสรีประชาธิปไตยที่มีรูปแบบต่างๆ----
                   ได้แก่ ระบอบประธานาธิบดี ระบอบรัฐสภาที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และ

                   ระบอบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา ซึ่งในแง่นี้ เสรีประชาธิปไตยกินความรวมถึง
                   ระบอบทั้งสามที่กล่าวมานี้------แต่ในระหว่างทางของพัฒนาการของระบอบ
                   การเมืองการปกครอง ก็บังเกิดระบอบที่มีลักษณะโดดเด่นขึ้นภายใต้การกล่าวอ้าง

                   ความเป็นประชาธิปไตย นั่นคือ ระบอบฟาสซิสม์และระบอบคอมมิวนิสม์ในช่วง
                   ศตวรรษที่สิบเก้าและยี่สิบ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ในสายตาของ Fukuyama พัฒนาการ
                   หรือวิวัฒนาการของระบอบการเมืองการปกครองได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ระบอบ

                   สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ระบอบฟาสซิสม์และระบอบคอมมิวนิสม์ได้สูญเสียความ
                   ชอบธรรมให้แก่ระบอบเสรีประชาธิปไตยในที่สุด และเขาถือว่าระบอบเสรี
                   ประชาธิปไตยเป็น “‘จุดหมายปลายทางของวิวัฒนาการของอุดมการณ์ของ

                   มนุษยชาติ’ และเป็นรูปแบบสุดท้ายของการปกครองของมนุษย์’ และได้มาพา
                   ให้มาถึง ‘จุดสุดยอดของประวัติศาสตร์’ (the end of history)” และแม้ว่า
                   ในปัจจุบันจะยังคงมีบางประเทศที่ปกครองด้วยระบอบสมบูรณาสิทธิราชย์ ระบอบ

                   ฟาสซิสม์และระบอบคอมมิวนิสม์ รวมทั้งระบอบประชาธิปไตยที่ไม่เสรี (illiberal
                              6
                   democracy)  แต่ภายใต้กรอบคิดในแบบ “unilinear” ย่อมเชื่อและคาดการณ์ว่า

                       6   Fareed Zakaria, “The Rise of Illiberal Democracy,” Foreign Affairs, Vol. 76,
                   No. 6 (Nov.-Dec. 1997), pp. 22-43; Fareed Zakaria, The Future of Freedom: Illiberal
                   Democracy at Home and Abroad, (New York: Norton: 2003) และดูบทวิจารณ์หนังสือ
                   ของ Zakarin ใน Larry Jay Diamond, “The Illusion of Liberal Autocracy,” Journal of
                   Democracy, Vol. 14, No. 4, October 2003, pp. 167-171. ในงานของ Zakaria (2003)
                   เขาจัดให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการปกครองที่เขาเรียกว่า “Illiberal Democracy”.



                                                                                   สถาบันพระปกเกล้า
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22