Page 16 - kpi16607
P. 16
ดุลอำนาจ ในการเมืองการปกครองไทย
เป้าหมายเดียวกัน ในขณะที่คำอธิบายในแบบ “ลักษณะเฉพาะตัว” ของแต่ละ
4
สังคมจะขัดแย้งกับแนวความคิดในแบบ “unilinear” เพราะสังคมบางสังคมหรือ
แต่ละสังคมไม่จำเป็นจะต้องดำเนินไปบนเส้นทางเดียวกันทั้งหมด ในทางการเมือง
การปกครอง มุมมองในแบบ “unilinear”
ปรากฏให้เห็นในงานของ Francis
Fukuyama ที่เขาได้สะท้อนไว้อย่างชัดเจน นั่นคือ
“...มีความเห็นพ้องต้องกันอย่างน่าทึ่งเกี่ยวกับความชอบธรรมของเสรี
ประชาธิปไตย (liberal democracy) ในฐานะที่เป็นระบบของการปกครอง
ที่ได้เกิดขึ้นไปทั่วทั้งโลกตลอดช่วงเวลาไม่กี่ปีมานี้ ด้วยเสรีประชาธิปไตย
(liberal democracy) มีชัยเหนืออุดมการณ์คู่แข่ง อย่างเช่น ระบอบ
พระมหากษัตริย์ที่สืบสายโลหิต, ฟาสซิสม์ และล่าสุดก็คือ คอมมิวนิสม์....
เสรีประชาธิปไตย (liberal democracy) อาจจะสถาปนา ‘จุดหมายปลายทาง
ของวิวัฒนาการของอุดมการณ์ของมนุษยชาติ’ และเป็นรูปแบบสุดท้ายของการ
ปกครองของมนุษย์’ และได้มาพาให้มาถึง ‘จุดสุดยอดของประวัติศาสตร์’
(the end of history)”
5
4 ผู้เขียนถือความหมายของ “Unilinear” ตามความหมายของ “unilinear cultural
evolution” ที่ปรากฏใน Oxford Reference (http://www.oxfordreference.com/view/10.1093/
oi/authority.20110803110706530) อันสื่อถึง “ทฤษฎีวิวัฒนาการในช่วงปลายศตวรรษที่สิบเก้า
ที่พิจารณาว่า สังคมมนุษย์ทั้งหลายทั้งปวงพัฒนาไปในเส้นทางร่วมกันโดยเริ่มจากชุมชนล่าสัตว์
และเก็บของป่าที่เรียบง่ายไปสู่อารยธรรมที่มีภาษาเขียน ในมุมมองดังกล่าวนี้ สังคมทุกสังคม
จะผ่านขั้นตอนพื้นฐานเดียวกัน แม้ว่าอัตราความเร็วของการเปลี่ยนผ่านจะแตกต่างกัน แนวคิด
ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นในแนวคิด “ระบบสามยุคสมัย” (the Three Age System) และ
ในแบบแผนที่มีฐานในทฤษฎีทางมานุษยวิทยาที่ชี้ให้เห็นถึงขั้นตอนที่ต่อเนื่องกันของวิถีชีวิตมนุษย์
ที่เริ่มจากขบวนเร่ร่อน (band) เผ่า (tribe) และชุมชนที่มีการจัดองค์กรตามลำดับชั้น
(chiefdom)”
5 Francis Fukuyama, The End of History and the Last Man, (London: Penguin
Books: 1992), “By Way of An Introduction,” p. xi.
สถาบันพระปกเกล้า