Page 19 - kpi16607
P. 19

ดุลอำนาจ   ในการเมืองการปกครองไทย





                         กล่าวโดยสังเขป การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเดนมาร์ค เริ่มเกิด

                   ขึ้นในรัชสมัยของ Frederick VII (Frederik Carl Christian, 1808-1863) แห่ง
                   ราชวงศ์ออลเดนบูรก์ (Oldenburg) พระองค์ทรงครองราชย์ตั้งแต่เดือนมกราคม
                   ค.ศ. 1848 จนเสด็จสวรรคต ทันทีที่พระองค์ขึ้นครองราชย์ พระองค์ก็ทรงเผชิญ

                   กับกระแสเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งพระองค์ก็ทรงยอมสละ
                   พระราชสิทธิ์และพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
                   (absolute monarchy) และยินยอมลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้

                   ประเทศเดนมาร์คมีรัฐสภาและมีการปกครองแบบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ
                   (constitutional monarchy) ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1849 ตลอดระยะเวลาของ
                   การครองราชย์ของพระองค์ ในภาพรวมกล่าวได้ว่า Frederick VII ทรงวาง

                   พระองค์ในฐานะพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญอย่างแท้จริงตามบริบท
                   ขณะนั้น แต่กระนั้นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกภายใต้ระบอบพระมหากษัตริย์
                   ภายใต้รัฐธรรมนูญของเดนมาร์คในยุคแรกเริ่มก็มิได้ทรง “ไม่ยุ่งเกี่ยวกับ

                   การเมือง” เสียเลย ด้วยในปี ค.ศ. 1854 ซึ่งเป็นเวลา 6 ปีหลังเปลี่ยนแปลง
                   การปกครอง พระองค์มีส่วนสำคัญต่อการล้มของรัฐบาลฝ่ายอนุรักษ์นิยมเข้มข้น      11
                   และในปี ค.ศ. 1859-60 พระองค์ทรงยอมรับรัฐบาลเสรีนิยมที่พระองค์ทรงลง

                   พระปรมาภิไธยแต่งตั้งขึ้นตามข้อเสนอที่ริเริ่มโดยสมเด็จพระราชินีของพระองค์
                   และตลอดช่วงวิกฤตของเขตการปกครองในแคว้นบางแคว้นในช่วง ค.ศ. 1862-63
                   อันเป็นช่วงไม่นานก่อนเสด็จสวรรคต พระองค์ได้ทรงมีพระราชดำรัสสดอย่าง

                   เปิดเผยเพื่อให้มีการร่วมมือประสานงานกันของเหล่าทหารในแถบสแกนดิเนเวีย
                   ทั้งหมด


                         แม้ว่าวิกฤตดังกล่าวจะไม่ร้ายแรง แต่ก็ได้สร้างปัญหาความขัดแย้งไม่ลงรอย
                   และความไม่มั่นคงภายในประเทศ กระนั้น ก็ไม่ได้ทำลายกระแสความนิยมที่
                   ประชาชนมีต่อพระองค์ และมีในบางกรณี ที่กล่าวได้ว่าพระองค์ได้ทรงก้าวข้าม

                   ขอบเขตพระราชอำนาจ หากพิจารณาจากมุมมองของรัฐธรรมนูญการปกครอง
                   พระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญของเดนมาร์คในปัจจุบัน ซึ่งก็เป็นเรื่อง
                   ที่เข้าใจได้เพราะในรัฐธรรมนูญเดนมาร์คฉบับแรกๆ และในช่วงต้นๆ ของระบอบ

                   พระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบการปกครองใหม่ของ
                   เดนมาร์ค และพระองค์ก็ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในระบอบใหม่




                                                                                   สถาบันพระปกเกล้า
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24