Page 24 - kpi16607
P. 24
ดุลอำนาจ ในการเมืองการปกครองไทย
ถูกต้องชอบธรรมอยู่ในระดับหนึ่ง ในอีกด้านหนึ่ง การยึดกรอบมุมมองในแบบ
“ลักษณะเฉพาะตัว” (uniqueness) ในแบบของการแกว่งไปมาของอำนาจ
ทางการเมืองระหว่างเผด็จการกับประชาธิปไตยที่พบได้ในพม่าหรือในไทยด้วย
ก็ตามนั้น หากยืนยันตามมุมมองดังกล่าว คำตอบที่ได้ก็คือ สังคมพม่าและไทย
จะไม่มีทางวิวัฒน์ไปสู่ระบอบเสรีประชาธิปไตยได้เลย ขณะเดียวกัน ก็อาจมีผู้ตั้ง
คำถามว่า การแกว่งไปมาของอำนาจทางการเมืองนั้นได้เริ่มเกิดขึ้นเมื่อใด ถ้าไม่ใช่
ในยุคสมัยใหม่ที่แนวคิดหลักการเสรีนิยมเริ่มมีอิทธิพลในสังคมดังกล่าวแล้ว
เท่านั้น? ซึ่งหมายความว่าสภาวการณ์การแกว่งตัวนี้เกิดขึ้นจากการเริ่ม
เปลี่ยนแปลงหรือเคลื่อนตัวจากระบอบเก่าไปสู่ระบอบใหม่แล้วเท่านั้น ยกเว้น
เสียแต่ว่าสภาวการณ์การแกว่งตัวนี้ดำเนินเกิดขึ้นมาในระบอบเดิมก่อนแล้ว
ในฐานะที่เป็น “ลักษณะเฉพาะตัว” ของสังคมการเมือง ดังนั้น การจะยึดถือ
เฉพาะกรอบมุมมองในแบบ “ลักษณะเฉพาะตัว” เท่านั้นในการอธิบาย
ปรากฏการณ์ทางการเมืองของพม่าหรือไทยก็ไม่ถือว่ามีความชอบธรรมทั้งหมด
เสียทีเดียวเช่นกัน ดังนั้นผู้เขียนเห็นว่าในการศึกษาการเมืองการปกครองของ
1 แต่ละสังคม จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะนำมุมมองทั้งสองแบบ นั่นคือ “unilinear”
และ “uniqueness” มาพิจารณาทำความเข้าใจ ขณะเดียวกัน ผู้เขียนเห็นว่า
มีทฤษฎีเกี่ยวกับระบอบหรือรูปแบบการปกครองที่ช่วยให้เราเข้าใจปรากฏการณ์
หรืออาการ “การแกว่งตัวไปมา” ในการเมืองการปกครองของสังคม ทฤษฎีที่ว่า
นี้คือทฤษฎีระบอบการปกครองแบบผสม (the theory of the mixed
constitution) และแม้ว่าทฤษฎีการปกครองแบบผสมจะถือกำเนิดขึ้นจากทฤษฎี
13
การเมืองกรีกโบราณ แต่ก็ถูกมองว่ามีอิทธิพลจวบจนถึงการเมืองสมัยใหม่ ดังที่
Kurt von Fritz ได้อ้างว่า “ไม่มีส่วนใดในทฤษฎีการเมืองโบราณที่จะมีอิทธิพล
ต่อทฤษฎีและภาคปฏิบัติทางการเมืองในยุคสมัยใหม่มากเท่ากับทฤษฎีรูปแบบ
14
การปกครองแบบผสม (mixed constitution)” ทฤษฎีการปกครองแบบ
ผสมนี้มีรากฐานความคิดจากการพิจารณาจัดแบ่งตัวแบบหรือแบบอันบริสุทธิ์
สมบูรณ์ (pure form) ของรูปแบบการปกครองออกเป็น 3 แบบ อันได้แก่
13
ดู Kurt von Fritz, The Theory of the Mixed Constitution in Antiquity: A Critical
Analysis of Polybius’ Political Ideas, (New York: Columbia University Press: 1954),
14 Kurt von Fritz, The Theory of the Mixed Constitution in Antiquity: A
Critical Analysis of Polybius’
Political Ideas, ibid., pp. v-vi.
สถาบันพระปกเกล้า