Page 37 - kpi16607
P. 37

ดุลอำนาจ   ในการเมืองการปกครองไทย





                   หรือทฤษฎี “รูปแบบการปกครองแบบผสม” (a mixed constitution/regime)

                   อาการแกว่งไปมานี้จึงไม่ใช่ปรากฏการณ์หรือลักษณะเฉพาะ (uniqueness) ของ
                   สังคมการเมืองใดสังคมหนึ่ง แต่เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในทุกสังคมการเมือง
                   โดยเฉพาะที่ในบริบทสังคมการเมืองที่ยังไม่มีอุดมการณ์และรูปแบบการปกครอง

                   ใดมีความชอบธรรมเพียงหนึ่งเดียว อย่างเช่นในบริบทของนครรัฐกรีกโบราณ
                   ซึ่งในบรรดานครรัฐกรีกโบราณ หากมีนครรัฐใดมีรูปแบบการปกครองที่อำนาจ
                   ทางการเมืองไม่สุดโต่งไปทางใดทางหนึ่งก็จะสามารถดำรงอยู่ได้ยาวนานกว่าที่อื่น

                   อย่างเช่นในกรณีของนครรัฐสปาตาร์หรือในกรณีของสาธารณรัฐโรมัน
                   ขณะเดียวกัน เราก็ไม่สามารถปฏิเสธอิทธิพลของวิวัฒนาการของเงื่อนไขทาง
                   เศรษฐกิจสังคมและการเมืองในประวัติศาสตร์ที่ดำเนินไปในลักษณะ “unilinear”

                   ด้วย โดยสังคมการเมืองมีพัฒนาการเข้าสู่สังคมศักดินาที่กลุ่มอภิชนมีอำนาจ
                   อิทธิพลสูง และพัฒนาต่อมาสู่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่พระมหากษัตริย์
                   หรือบุคคลคนเดียวมีอำนาจอิทธิพลสูง และการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมทุนนิยม

                   อันนำไปสู่พัฒนาการของระบอบเสรีประชาธิปไตยที่ถือว่าเป็นพัฒนาการสูงสุดของ
                   รูปแบบการปกครองในยุคสมัยใหม่ปัจจุบันหรืออีกนัยหนึ่งคือ รูปแบบการปกครอง     2
                   แบบผสมที่ลงตัวดังที่กล่าวไปแล้ว ซึ่งผู้เขียนจักได้อธิบายขยายความในประเด็น

                   ที่กล่าวมานี้มากขึ้นในงานวิจัยปีต่อไป

                         หากพิจารณาประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองในแต่ละช่วงหลังยุคกรีก-

                   โรมันโบราณ ก็จะพบอาการแกว่งตัวไปมาของอำนาจทางการเมืองเสมอไม่ว่า
                   เพียงแต่ว่าอาจจะไม่เหวี่ยงอย่างรุนแรงเหมือนในยุคกรีก-โรมันโบราณ เพราะ
                   อิทธิพลของวิวัฒนาการของเงื่อนไขทางเศรษฐกิจสังคมการเมืองในแต่ละยุคของ

                   ประวัติศาสตร์  ดังนั้น ผู้เขียนจึงไม่ปฏิเสธคำอธิบายภายใต้กรอบ “unilinear” ที่
                   ขับเคลื่อนสังคมการเมืองโดยทั่วไปในประวัติศาสตร์มาจนถึงสังคมสมัยใหม่ภายใต้
                   ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม-โลกาภิวัตน์ และแม้ว่าผู้เขียนจะได้กล่าวไปข้างต้นว่า

                   อาการแกว่งไปมาไม่ใช่ปรากฏการณ์หรือลักษณะเฉพาะ แต่ความรุนแรงของการ
                   แกว่งอาจจะเกี่ยวขึ้นอยู่กับลักษณะหรือเงื่อนไขเฉพาะของสังคมนั้นได้ ดังที่ผู้เขียน
                   ตระหนักดีในสิ่งที่ยศเรียกว่า “ความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์” ของการเมืองไทย

                   ที่ยศเห็นการแกว่งตัวไปมาระหว่างสิ่งที่ยศเรียกว่า “เผด็จการกับประชาธิปไตย”






                                                                                   สถาบันพระปกเกล้า
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42