Page 34 - kpi16607
P. 34
ดุลอำนาจ ในการเมืองการปกครองไทย
ผสมแทบทั้งสิ้น และรูปแบบการปกครองแบบผสมเท่านั้นที่จะยุติปัญหาความ
32
ไร้เสถียรภาพทางการเมืองที่เกิดจากการเหวี่ยงหรือการแกว่งไปมาอย่างสุดโต่ง
ของอำนาจทางการเมือง
กล่าวโดยย่อได้ว่า ทฤษฎีการปกครองแบบผสมเน้นไปที่รูปแบบการ
ปกครองที่สามารถนำมาใช้ปฏิบัติได้จริงในทางการเมือง เนื่องจากคุณลักษณะ
สำคัญประการหนึ่งของทฤษฎีการปกครองแบบผสมคือการมุ่งสร้างกลไกเชิง
สถาบันของระบบการปกครองที่วางอยู่บนหลักของการผสมคละเคล้ากันระหว่าง
รูปแบบของการปกครองแบบบริสุทธิ์ (pure form) สามแบบที่ดำรงอยู่ อันได้แก่
รูปแบบการปกครองที่ให้อำนาจทางการเมืองทั้งหมดอยู่ที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง นั่นคือ
บุคคลคนเดียวหรือกลุ่มคนหรือมหาชน ซึ่งโดยธรรมชาติของแต่ละรูปแบบนี้มักจะ
ลงเอยด้วยลักษณะการรวมอำนาจเบ็ดเสร็จ อันส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้านหรือ
แรงเหวี่ยงกลับไปมาอย่างสุดโต่งระหว่างส่วนใดส่วนหนึ่ง ด้วยเหตุนี้โดยธรรมชาติ
ของการปกครองแบบผสมจึงปฏิเสธรูปแบบการปกครองแบบบริสุทธิ์หรือสมบูรณ์
2 แบบรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเพียงรูปแบบเดียวจากทั้งสามรูปแบบ อย่างไรก็ดี
การผสมคละเคล้ากันระหว่างอำนาจสามส่วน—คน ๆ เดียว, กลุ่มคน, และ
มหาชน---ไม่ได้หมายความว่าทุกส่วนจะมีอำนาจทางการเมืองเท่ากัน แต่รูปการ
ปกครองแบบผสมอาจจะปรากฏตัวชัดออกมาในรูปแบบที่คน ๆ เดียวหรือกลุ่มคน
หรือมหาชนมีอำนาจนำเหนือกว่าอีกสองส่วน ถ้าในกรณีที่คน ๆ เดียวมีอำนาจนำ
ก็จะเรียกรูปแบบการปกครองนั้นว่า “mixed monarchy” โดยเฉพาะในกรณีที่
คน ๆ เดียวนั้นอยู่ในสถานะของพระมหากษัตริย์และมีการสืบราชสันตติวงศ์ และ
ถ้าในกรณีที่กลุ่มคนมีอำนาจนำก็จะเรียกว่า “mixed
oligarchy
or
mixed
32 Kurt von Fritz, The Theory of the Mixed Constitution in Antiquity: A
Critical Analysis of Polybius’ Political Ideas, opcit., pp. v-vi; James M. Blythe,
Ideal Government and the Mixed Constitution in the Middle Ages, (Princeton:
Princeton University Press: 1992), “Thomas Aquinas,” pp. 39-59, “The Mixed
Constitution and Italian Republicanism,” pp. 278-300; Benjamin Isakhan and Stephen
Stockwell, eds., The Edinburgh Companion to the History of Democracy,
(Edinburgh: Edinburgh University Press: 2012), “Medieval Democracy,” p. 150.
สถาบันพระปกเกล้า