Page 195 - kpi16607
P. 195
ดุลอำนาจ ในการเมืองการปกครองไทย
ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ทำให้จำกัดบทบาทของท้องถิ่นที่จะเป็น
“ผู้ริเริ่ม” (Contributor) การจัดบริการสาธารณะด้วยตัวเอง ดังนั้น
การกลับบทบาทของท้องถิ่นจากหน่วยงานรองที่ต้องรอรับการถ่ายโอน
อำนาจหน้าที่มาเป็นหน่วยงานหลักที่สามารถจัดทำบริการสาธารณะได้
ทุกประเภทตราบเท่าที่กฎหมายไม่ได้ระบุห้ามจึงเป็นเป้าหมายสำคัญ
ของการกระจายอำนาจ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักความสามารถทั่วไป
(General competence) ที่ถือว่าท้องถิ่นสามารถดำเนินการในเรื่อง
สำคัญได้ถ้าเป็นไปเพื่อประโยชน์ของท้องถิ่นตามที่กฎหมายกำหนด
เว้นแต่จะมีข้อยกเว้นอำนาจหน้าที่บางประการที่อาจสงวนไว้ให้
หน่วยงานส่วนกลาง-ส่วนภูมิภาคเป็นผู้จัดทำแทน 37
2) การขยายขอบเขตอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารท้องถิ่นให้
ตอบสนองการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนมากขึ้น
โดยการ
กระจายอำนาจจะทำในลักษณะการกำหนดอำนาจหน้าที่ขั้นต่ำ
(หมายความว่าท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ที่จะสามารถดำเนินภารกิจ
1
ที่มากกว่าอำนาจขั้นต่ำได้) เพื่อเป็นหลักประกันอำนาจหน้าที่องค์กร
บริหารท้องถิ่นต้องทำอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แทนที่จะกำหนดอำนาจ
หน้าที่ไว้อย่างตายตัวตามกฎหมายดังที่ผ่านมาในอดีตโดยทิศทาง
การปฏิรูปและการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มุ่งขยายบทบาทในการจัด
บริการสาธารณะให้ครอบคลุมด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ
ประชาชน การพัฒนาเศรษฐกิจ และการพัฒนาการเมืองกับสังคม
รวมถึงการใช้หลักความสามารถในการแข่งขัน (Contestability) เพื่อ
ขยายขอบเขตให้บุคคลหรือชุมชนอื่นสามารถเข้ามาแข่งขันจัดบริการ
สาธารณะแทนองค์การบริหารท้องถิ่นในพื้นที่
37 Marcou, Gerard. (2007). Local authority competences in Europe. Council of
Europe, p. 16-18.
สถาบันพระปกเกล้า