Page 199 - kpi16607
P. 199
ดุลอำนาจ ในการเมืองการปกครองไทย
ผิดชอบ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและ
เกิดประโยชน์สูงสุด และป้องกันไม่ให้ท้องถิ่นประสบปัญหาการแบกรับภารกิจ
ที่มากหรือน้อยเกินไป โดยการกำหนดขนาดที่เหมาะสมอาจทำได้หลายวิธี เช่น
1). การควบรวมองค์กรบริหารท้องถิ่น (Amalgamation) ให้มีขนาดที่เหมาะสม
2). การจัดเขตพื้นที่การบริหารท้องถิ่นให้สอดคล้องกับลักษณะทางภูมิศาสตร์และ
การบริหาร และ 3). การกำหนดภารกิจขององค์กรบริหารท้องถิ่นต้องสอดคล้อง
กับขนาดขององค์กรบริหารท้องถิ่น
7) รัฐ ราชการส่วนภูมิภาค และองค์กรบริหารท้องถิ่น ต้อง
ร่วมมือกันดำเนินการตามงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรให้พัฒนา
พื้นที่ร่วมกันและในภารกิจอื่นที่ได้รับมอบหมาย
เป็นหลักการเพื่อเพิ่มอำนาจและเครื่องมือของการจัดการโดยไม่ยึดติด
กับเขตการปกครองของระบบราชการและไม่ยึดตามอำนาจหน้าที่หรือกลไกที่ 1 1
ตายตัวของหน่วยงานผ่านการใช้งบประมาณเป็นตัวขับเคลื่อน ใน 2 ลักษณะ
คือ 1). การจัดการและการสร้างความร่วมมือตามพื้นที่ (Area Based
Management) เพื่อแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการทั้งในระดับชาติและท้องถิ่นที่มี
อยู่เดิมมักยึดติดกับเขตการปกครองที่องค์กรของรัฐหรือท้องถิ่นเป็นผู้ดูแลอย่าง
ตายตัว เช่น การยึดตามเขตจังหวัด เขตอำเภอ หรือเขตการปกครองท้องที่
(ตำบลและหมู่บ้าน) ของราชการส่วนกลางและภูมิภาค หรือเขตการปกครอง
ท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการจัดการพื้นที่
ที่มีลักษณะเฉพาะที่ไม่สามารถยึดตามเขตการปกครองของระบบราชการ เช่น
พื้นที่ที่เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ พื้นที่เมืองชายแดน พื้นที่การจัดการลุ่มน้ำ เป็นต้น
และ 2). การจัดการและสร้างความร่วมมือตามภารกิจ (Mission Based
Management) ที่เป็นประเด็นปัญหาและความท้าทายในหลายพื้นที่และต้องอาศัย
ความร่วมมือของหลายองค์กร
สถาบันพระปกเกล้า