Page 55 - kpi16531
P. 55
3 นวัตกรรมการพัฒนารายได้
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3) ข้อเสนอแนะเชิงสมรรถนะขององค์การ
= การวางแผนยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน: องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรมีการวางแผน
ยุทธศาสตร์ (หรือแผนธุรกิจ) ที่ชัดเจน เน้นการพัฒนาสมรรถนะขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นแบบองค์รวม (Holistic approach) โดยมีการกำหนดวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน
พัฒนาการบริหารและพัฒนานโยบายเพื่อจัดการทุนในด้านต่างๆ เพื่อพัฒนาให้เมือง
เป็นเมืองในอนาคตหรือเมืองแห่งโอกาส
= การวิเคราะห์ศักยภาพรอบด้านอย่างมีระบบ: องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรมี
การวิเคราะห์ศักยภาพของตนเองในด้านต่างๆ เช่น การเงิน การจัดการ และ
ทรัพยากรบุคคล และวิเคราะห์ศักยภาพโดยรวมโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์แบบ
SWOT Analysis
4) ข้อเสนอแนะอื่นๆ
= ขนาดและศักยภาพมีผลต่อการเลือกกลยุทธ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่น:
< ท้องถิ่นขนาดใหญ่และมีศักยภาพสูงอาจใช้กลยุทธ์ในการพัฒนาแบบ PPPs
การพัฒนาบริการสาธารณะพื้นฐาน และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
< ท้องถิ่นขนาดกลาง-เล็กและมีศักยภาพปานกลางหรือต่ำ อาจใช้กลยุทธ์และ
รูปแบบการพัฒนาต่างไป เช่น การพัฒนาบริการสาธารณะพื้นฐาน การอนุรักษ์
และพัฒนาสถานที่ทางประวัติศาสตร์ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว (ตัวอย่างเช่นถนน
ถลาง จังหวัดภูเก็ต) การสร้างรายได้จากการนำเสนอและเผยแพร่วัฒนธรรม
ของท้องถิ่น (อาทิ มหกรรมนกเขาชวาเสียงอาเซียน เทศบาลนครยะลา) และ
การสร้างแรงจูงใจทางการเงินเพื่อดึงดูดการลงทุนของภาคธุรกิจ
. การกู้ยืมและพันธบัตร (Borrowing and bond financing)
การกู้ยืมถือเป็นเครื่องมือหนึ่งในการเพิ่มรายได้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเป็น
ช่องทางหนึ่งในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เหตุผลหลักที่องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นต้องกู้ยืม คือ การมีรายได้จำกัดหรือไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับรายจ่ายขององค์กร ทั้งนี้
รายได้ดังกล่าวมาจากรายได้ที่ท้องถิ่นจัดเก็บเอง รายได้ที่รัฐบาลกลางจัดเก็บให้และแบ่งให้ รวมทั้ง
เงินอุดหนุนจากส่วนกลาง การมีรายได้จำกัดส่งผลต่อการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นด้านคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความเพียงพอของการให้บริการ โดยระบบ
สินเชื่อหรือการกู้ยืมเงินของท้องถิ่นสามารถจำแนกเป็น 2 ระบบหลัก ได้แก่
= การกู้ยืมหรือให้สินเชื่อผ่านระบบธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของ
รัฐ (Bank lending) เป็นวิธีการกู้ยืมที่นิยมใช้ในประเทศกำลังพัฒนาและในท้องถิ่นที่มี
ประวัติด้านการกู้ยืมไม่มากนัก หรือไม่มีประวัติการจัดลำดับความน่าเชื่อถือทางการเงิน
ซึ่งการกู้ยืมลักษณะนี้สามารถทำได้หลายช่องทาง เช่น การกู้ยืมผ่านธนาคารหรือสถาบัน
การเงินทั่วไปหรือเฉพาะกิจ การกู้ยืมจากกองทุนเงินสะสมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น