Page 59 - kpi16531
P. 59

2     นวัตกรรมการพัฒนารายได้
                ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


                             หลักเกณฑ์เดียวกัน แต่ในความเป็นจริงแล้วงบการเงินของท้องถิ่นทำให้เป็นปัจจุบันยาก
                             และต้องผ่านการตรวจสอบของสำนักงานคณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดินก่อน

                             ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ใช้ระยะเวลานาน

                         = ขั้นตอนการดำเนินงานยุ่งยากซับซ้อน ขั้นตอนในการออกพันธบัตรมีความยุ่งยาก
                             ซับซ้อนมากกว่าการกู้เงิน และมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานมาก ทั้งค่าใช้จ่ายในการ

                             จ้างที่ปรึกษาทางด้านกฎหมาย และนายทะเบียน ซึ่งเป็นรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นมากกว่า
                             การกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินตามปกติ

                    2. สมรรถนะขององค์การและเจ้าหน้าที่


                         = เจ้าหน้าที่ขาดความรู้ความเข้าใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดทำพันธบัตรเพราะถือ
                             เป็นเรื่องใหม่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย และต้องอาศัยความรู้และความ
                             เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการวางแผนการดำเนินงานต่างๆ จะสังเกตได้จาก กรณีของ

                             กรุงเทพมหานครนั้นจำเป็นที่จะต้องจ้างที่ปรึกษาเข้ามาดูแลและศึกษากระบวนการ
                             ทำงานต่างๆ เพราะเจ้าหน้าที่ขาดประสบการณ์ในเรื่องดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
                             ความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์ การวางแผน และการดำเนินการเกี่ยวกับการ

                             ออกพันธบัตรท้องถิ่น

                    3. เจตนารมณ์ทางการเมือง

                         = การกู้เงินมาดำเนินโครงการเพื่อสร้างคะแนนนิยม กล่าวคือ ผู้บริหารบางแห่งใช้

                             วิธีการกู้เงินมาดำเนินโครงการต่างๆ จำนวนมาก เพื่อสร้างคะแนนนิยมของตน
                             โดยละเลยถึงความสามารถในการชำระคืน และสถานะทางการคลังของท้องถิ่น ส่งผล
                             ให้เกิดผลผูกพันในระยะยาว


                         = ความสนใจของผู้บริหารท้องถิ่น จากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ผลสำรวจเบื้องต้นพบว่า
                             องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่ (ทุกประเภท) ขาดความสนใจหรือไม่มีมี
                             แผนการในการกู้ยืมเงินและการจำหน่ายพันธบัตร กล่าวคือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                             ส่วนจำนวนกว่า 490 แห่ง หรือร้อยละ 65.1 ไม่สนใจกู้ยืมเงินและจำหน่ายพันธบัตร
                             ในขณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวนเพียง 171 แห่ง หรือคิดเป็นร้อยละ
                             22.7 เท่านั้นที่สนใจกู้ยืมเงิน รวมทั้งมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพียง 5 แห่ง

                             เท่านั้นที่มีความสนใจในการจำหน่ายพันธบัตร

               ข้อเสนอแนะการกู้ยืมและพันธบัตร

                    1. ข้อเสนอแนะเชิงหลักการ


                         = การกู้ยืมเงินควรพิจารณาจากความสามารถในการชำระคืนและความสามารถ
                             ทางการคลังมากกว่าจำกัดการกู้ยืมจากประเภทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                             กล่าวคือ การอนุญาตให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกู้ยืมเงินควรพิจารณาจากความ

                             สามารถทางการคลัง และความสามารถในการบริหารหนี้มากกว่าจำกัดการกู้ยืมจาก
                             ประเภทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะฉะนั้นผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะเชิง
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64