Page 54 - kpi16531
P. 54
นวัตกรรมการพัฒนารายได้ 3
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เช่น อัตลักษณ์ ความพร้อมทางทรัพยากร ความรู้และความสามารถของบุคลากร
เป็นต้น
= การวางแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนา: การสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นคิดนอกกรอบและในเชิงกลยุทธ์ กล่าวคือ ต้องมีการวางแผนยุทธศาสตร์
ในการพัฒนาที่เหมาะสม โดยการมองภาพรวมและเป้าหมายหลักของการพัฒนา
เพื่อสร้างนวัตกรรมการพัฒนาที่มีความแตกต่างและเหมาะสมกับองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นเอง
= การเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นตัดสินใจในด้านการให้แรงจูงใจทางการเงินเพื่อการ
พัฒนาเศรษฐกิจ: การให้อำนาจบางส่วนหรือเปิดโอกาสให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สามารถพิจารณาการให้แรงจูงใจด้านการเงินได้ด้วยตนเอง หรืออาจดำเนินการ
ร่วมกับ BOI และ SMEs
= การพิจารณาบริบทอื่นๆ ของการพัฒนา: การพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นอาจก่อ
ให้เกิดทั้งผลดีและผลเสียต่อชุมชน ดังนั้นในการพัฒนาจึงต้องคำนึงถึงบริบทอื่นๆ
รอบด้านประกอบด้วย ไม่ว่าจะเป็นบริบทด้านสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และคุณภาพ
ชีวิตของประชาชน
= การวางแผนจัดการความเสี่ยง: การพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ควรมีการวางแผน
ตั้งรับกับความเสี่ยงและความล้มเหลวที่ไม่คาดคิดอย่างเป็นระบบ เพื่อบรรเทาความ
เสียหายของผลกระทบที่เกิดขึ้น
2) ข้อเสนอแนะเชิงกฎหมาย
= การแก้ไขกฎหมาย: เสนอแก้ไขกฎหมายหลักที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ
ในท้องถิ่น เช่น รัฐธรรมนูญมาตรา 87 เรื่องการประกอบกิจการที่เป็นการแข่งขันกับ
เอกชน เพื่อให้ท้องถิ่นสามารถริเริ่มโครงการที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น, พ.ร.บ.
ร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อให้กระบวนการในการริเริ่มหรือจัดทำโครงการ
ขนาดใหญ่ของท้องถิ่นมีความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น, พ.ร.บ. การกู้เงิน เพื่อให้
ท้องถิ่นมีช่องทางเพิ่มขึ้นในการระดมทุนเพื่อจัดทำโครงการหรือกิจกรรม
= ความสมเหตุสมผลของกรอบกฎหมาย: ควรกำหนดกรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้
มีความยืดหยุ่น มีความสมเหตุสมผล และปฏิบัติได้จริงอย่างเหมาะสม ในทางตรงข้าม
ควรมีกฎหมายที่ควบคุมและตรวจสอบการดำเนินการโครงการพัฒนาด้วย และ
ลักษณะของกรอบกฎหมายทั้ง 2 ด้านนี้ควรส่งเสริม สอดคล้อง และเป็นไปในทิศทาง
เดียวกัน มิใช่ขัดกันจนเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา
= ความทันสมัยของกฎหมาย: กฎหมายต้องมีการ update ให้เหมาะสมกับยุคสมัย
และความเปลี่ยนแปลงของประเทศอยู่เสมอ