Page 57 - kpi16531
P. 57

0     นวัตกรรมการพัฒนารายได้
                ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


                    ซึ่งระบบสินเชื่อหรือการกู้ยืมทั้ง 2 ระบบนี้มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป เพราะฉะนั้นการจะ
               เลือกวิธีใดในการกู้ยืมเงินจึงต้องพิจารณาถึงความพร้อมและความเหมาะสม ตลอดจนข้อดีและข้อเสีย

               ต่างๆ ด้วย โดยระบบสินเชื่อทั้ง 2 ระบบมีข้อดีข้อเสีย ดังต่อไปนี้

                    = ข้อดีของการกู้เงินผ่านสถาบันการเงิน ได้แก่ 1) ช่วยลดปัญหาความไม่สมดุลทางข้อมูล
                       (Information asymmetry) กล่าวคือ การกู้ยืมลักษณะนี้ธนาคารหรือสถาบันการเงินถือเป็น

                       ตัวกลางที่ทำหน้าที่ดูแลควบคุมการปล่อยสินเชื่อให้แก่ท้องถิ่น (Delegated monitoring
                       services) จึงจำเป็นต้องมีการหาข้อมูล วิเคราะห์ และประเมินข้อมูลทางการเงินของท้องถิ่น
                       ที่จะกู้ เพื่อกำหนดวงเงินและเงื่อนไขสินเชื่อที่เหมาะสม ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวช่วยลด
                       ปัญหาความไม่สมดุลทางข้อมูล 2)  ลดต้นทุนด้านการเจรจา การติดตามควบคุม และการ

                       บังคับใช้สัญญา  (Transaction, monitoring, and contract enforcing costs) และลดความ
                       เสี่ยงทางการเงินที่จะเกิดขึ้น และ 3) ในด้านของผู้กู้ การกู้ลักษณะนี้ค่อนข้างมีความยืดหยุ่น

                       กล่าวคือ ท้องถิ่นที่กู้สามารถเจรจาข้อตกลงในการกู้และการผ่อนผันการชำระหนี้ (ในกรณี
                       ที่จำเป็น) กับสถาบันการเงินได้โดยตรง

                    = ข้อเสียของระบบการกู้ยืมผ่านสถาบันการเงิน ได้แก่ 1) อาจเกิดปัญหาพฤติกรรมของ

                       ธนาคารหรือสถาบันการเงินที่เรียกว่า Rent-seeking behavior กล่าวคือ ธนาคารหรือ
                       สถาบันการเงินอาจใช้อำนาจควบคุมการตัดสินใจในการลงทุนหรือการดำเนินกิจการของ
                       ท้องถิ่นเนื่องจากเป็นผู้อนุมัติสินเชื่อ และ 2) การกำหนดดอกเบี้ยเงินกู้หรือค่าธรรมเนียม
                       ที่สูงเพื่อเพิ่มผลกำไรของสถาบันการเงิน ซึ่งส่งผลเสียต่อการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวม


                    = ข้อดีของการออกพันธบัตร ได้แก่ 1) เป็นการเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนระยะ
                       ยาวให้กับท้องถิ่น  2) อัตราออกเบี้ยต่ำกว่าการกู้ยืมจากธนาคารหรือสถาบันการเงิน

                       เพราะฉะนั้นจึงเป็นวิธีการที่ควรนำมาใช้เพื่อการลงทุนระยะยาว (15 ปีขึ้นไป) เช่น
                       การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค เนื่องจากเป็นการกู้ยืมที่สามารถช่วยลด
                       ค่าใช้จ่ายเรื่องของดอกเบี้ยเงินกู้ 3) เป็นการส่งเสริมศักยภาพและความสามารถทางการ

                       บริหารและจ่ายคืนเงินกู้  รวมทั้งช่วยกระตุ้นการพัฒนาประวัติหรือการจัดลำดับเครดิตของ
                       แต่ละท้องถิ่น และ 4) วงเงินที่ให้กู้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับระยะเวลาในการ
                       ดำเนินโครงการมากกว่าการกู้ยืมจากสถาบันการเงิน


                    = ข้อเสียของการออกพันธบัตร ได้แก่ 1) ข้อตกลงในการกู้ยืมมีความยืดหยุ่นน้อยกว่า
                       การกู้ยืมจากสถาบันการเงิน  เนื่องจากท้องถิ่นไม่สามารถเจรจาต่อรองเรื่องเงื่อนไขหรือ
                       ข้อตกลงในการกู้ยืมหรือการขอผ่อนผันการชำระคืนเงินกู้ได้มากนัก  2) การออกพันธบัตร
                       มีขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อน และมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะในกรณี

                       ที่ท้องถิ่นนั้นๆไม่เคยออกพันธบัตรมาก่อน เช่น  ค่าประเมินการจัดลำดับเครดิต ค่าจ้าง
                       บริษัทหลักทรัพย์หรือผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (Bond underwriter) 3) การออกพันธบัตร

                       อาจก่อให้เกิดปัญหาที่เรียกว่า จรรยาบรรณวิบัติ (Moral hazard) กล่าวคือ องค์กรปกครอง
                       ส่วนท้องถิ่นอาจมีความคาดหวังว่ารัฐบาลกลางจะชำระคืนหนี้ให้ในกรณีที่องค์กรไม่สามารถ
                       ชำระคืนเงินที่กู้มาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าพันธบัตรดังกล่าวมีการค้ำประกันจากรัฐบาลกลาง
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62