Page 61 - kpi16531
P. 61
นวัตกรรมการพัฒนารายได้
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การก่อหนี้สาธารณะ รวมทั้งพัฒนากลไกการกำกับดูแลการก่อหนี้ที่เหมาะสมและ
รัดกุม อีกทั้งยังควรมีหน่วยงานกลางที่ดูแลเกี่ยวกับการกู้เงินและออกพันธบัตรของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยเฉพาะ แต่ในขณะเดียวกันจะต้องไม่เป็นการควบคุม
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากเกินไป รวมทั้งการแก้กฎหมายหรือระเบียบต่างๆ
ที่เคยเป็นข้อจำกัด ให้กลายเป็นกฎหมายหรือระเบียบที่เปิดโอกาสให้สามารถกู้เงิน
หรือออกพันธบัตรได้ แต่อย่างไรก็ตามต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความโปร่งใส
ความชัดเจน ถูกต้อง รัดกุม และอยู่ภายใต้กฎหมายหรือการกำกับดูแลที่เหมาะสม
= การกู้ยืมเงินภายใต้เงื่อนไข โดยมีกฎเกณฑ์ในการกำกับดูแลและติดตามการก่อหนี้
เพื่อไม่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อหนี้มากเกินไปจนกระทบต่อความมั่นคง
ทางการคลัง และฐานะทางการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เนื่องจาก
การศึกษาพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในต่างประเทศบางแห่งมีการก่อหนี้หรือ
ออกพันธบัตรที่ล้มเหลว ส่งผลให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อฐานะทางการคลัง โดยอาจ
กำหนดเงื่อนไขด้วยการกำหนด “เพดานในการก่อหนี้” เพื่อไม่ให้ท้องถิ่นก่อหนี้มาก
เงินไปจนอาจส่งผลกระทบต่อวินัยทางการคลังในอนาคต รวมทั้งการกำหนด
“ประเภทโครงการที่สามารถกู้ยืมเงินไปดำเนินการ” ว่าควรเป็นโครงการที่ก่อให้เกิด
ประโยชน์ในระยะยาว มีผลตอบแทนในอนาคต และสามารถจัดหางบประมาณเพื่อ
ชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยได้
3. ข้อเสนอแนะเชิงสมรรถนะองค์การ
= จัดทำ “คู่มือการกู้เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” พร้อมทั้งอบรมและ
ให้ความรู้เพื่อให้ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการมีความรู้ความเข้าใจใน
หลักเกณฑ์และขั้นตอนในการกู้ยืมเงินมากขึ้น ส่วนการออกพันธบัตรของท้องถิ่นนั้น
มีความซับซ้อนมากกว่าการกู้เงินจากกองทุนและสถาบันการเงินต่างๆ เพราะฉะนั้น
จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการอบรมให้ความรู้เพื่อให้ทราบถึงหลักการ
วิธีการดำเนินงาน และข้อจำกัดต่างๆ
= การตั้งที่ปรึกษา หรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับการลงทุน
การบริหารหนี้ และการออกพันธบัตรท้องถิ่น
= การสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในการออกพันธบัตร เนื่องจากองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยยังขาดประสบการณ์เกี่ยวกับการออกพันธบัตร รวมทั้ง
การออกพันธบัตรยังต้องอาศัยเงินลงทุนจำนวนมาก ประกอบกับฐานะทางการคลัง
ของท้องถิ่นยังไม่มีความเข้มแข็งมากนัก เพราะฉะนั้นในขั้นตอนการปฏิบัติอาจใช้วิธี
การร่วมมือกันระหว่างท้องถิ่นในการออกพันธบัตรเพื่อช่วยให้การออกพันธบัตร
ลดความเสี่ยงลง และมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
= ให้ความรู้ด้านการบริหารหนี้ โดยการสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อให้ผู้บริหารท้องถิ่น
มีความรู้ความสามารถในการบริหารหนี้ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การบริหารหนี้ของ
ท้องถิ่นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และไม่ส่งผลกระทบต่อฐานะการคลังในอนาคต