Page 52 - kpi16531
P. 52
นวัตกรรมการพัฒนารายได้ 3
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
< การแบ่งเขตการลงทุน (Investment zoning) กำหนดโดยสำนักงาน
คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) นอกจากนั้น BOI ยังกำหนดนโยบาย
และหลักเกณฑ์ในการพิจารณาการลงทุน ปัจจุบัน (เดือนมกราคม 2558)
เขตส่งเสริมการลงทุนแบ่งเป็น 3 เขต ได้แก่ เขตพื้นที่ 20 จังหวัดที่มีรายได้
ต่อหัวต่ำ, เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และเขตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3) กลยุทธ์การสนับสนุนความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public-private
partnerships: PPPs)
= ในรูปแบบของการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่น รูปแบบของ PPPs ที่นำมาใช้ในที่นี้
มักเป็นความร่วมมือในโครงการที่มีขนาดใหญ่หรือเป็นการลงทุนด้านโครงสร้าง
พื้นฐาน เช่น โครงการไลฟ์สไตล์มอลล์ปาก้า (PAKA) ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
กระบี่ รถไฟฟ้า BTS และโรงเผาขยะมูลฝอยชุมชนและผลิตไฟฟ้าของเทศบาลนคร
ภูเก็ต เป็นต้น
= องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่งมีข้อจำกัดด้านเงินลงทุนและการกู้ทำให้
ไม่สามารถดำเนินโครงการร่วมทุนขนาดใหญ่ได้
4) กลยุทธ์รูปแบบอื่นๆ
= องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยหลายแห่งมีเอกลักษณ์ของตนเองและสามารถ
พัฒนาหรือนำมาปรับเป็นกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นได้
ซึ่งรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจดังกล่าวอาจเรียกว่า กลยุทธ์การพัฒนาจุดเด่นและ
สร้างมูลค่าเพิ่มจากเอกลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
< ตัวอย่างการพัฒนา เช่น เมืองสร้างสรรค์ด้านนกของเทศบาลนครยะลา และ
ตลาดน้ำอัมพวาของเทศบาลตำบลอัมพวา จ.สมุทรสงคราม ทั้งนี้จุดเริ่มต้นของ
การพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นเกิดจากการนำวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่
ได้แก่ การเลี้ยงนกตามบ้านเรือนของคนในชุมชนเทศบาลนครยะลา และวิถีการ
ดำเนินชีวิตทางน้ำ ตลอดจนบ้านทรงไทยริมน้ำของชุมชนอัมพวามาพัฒนาเป็น
โครงการ/กิจกรรมเพื่อส่งเสริมท่องเที่ยว รวมทั้งพัฒนาเป็นธุรกิจหลายๆ
รูปแบบเพื่อสร้างตัวคูณทางเศรษฐกิจให้กับท้องถิ่น
ปัญหาหรือข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย
1) ข้อจำกัดด้านกรอบกฎหมาย เช่น
= รัฐธรรมนูญ มาตรา 87 เรื่องการประกอบกิจการที่มีลักษณะแข่งขันกับเอกชน เป็น
ข้อจำกัดสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยไม่สามารถ
ริเริ่มหรือดำเนินโครงการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ได้เท่าที่ควร เนื่องจากหลายๆ
โครงการมักถูกตีความว่าเป็นการประกอบกิจการแข่งกับเอกชน