Page 51 - kpi16531
P. 51

3      นวัตกรรมการพัฒนารายได้
                ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


               ข้อค้นพบจากการศึกษาวิจัย: การสำรวจและสถานการณ์เบื้องต้นเกี่ยวกับ
               การพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย


                    จากการสำรวจข้อมูลการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นของไทย พบว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                                                    3
               จำนวน 273 แห่ง จากทั้งหมด 753 แห่ง  (หรือร้อยละ 36.3) ดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่
               และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 269 แห่ง (หรือร้อยละ 35.7)  ไม่ได้ดำเนินการพัฒนา

               เศรษฐกิจในพื้นที่ นอกจากนั้น กิจกรรมหรือโครงการที่ดำเนินการมีหลากหลายรูปแบบ เช่น การจัด
               บริการสาธารณูปโภคพื้นฐานด้านประปาและไฟฟ้า การสร้างถนนหรือสะพาน  การพัฒนาพื้นที่รกร้าง
               และการจัดผังเมือง เป็นต้น


                    สำหรับรูปแบบกลยุทธ์ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยใช้ในการดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจ
               ในพื้นที่ได้ มีดังนี้

                    1) กลยุทธ์การให้แรงจูงใจทางการเงิน (Financial incentives)


                         =  เป็นกลยุทธ์ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยนิยมใช้น้อยที่สุดเนื่องจากท้องถิ่น
                             มีอำนาจจำกัดในการใช้เครื่องมือทางภาษีอากรซึ่งเป็นอำนาจการตัดสินใจของรัฐบาล

                             กลางหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม
                             การลงทุน และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
                               <  สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Thailand Board of Investment:
                                  BOI) มีอำนาจในการพิจารณาการลดหย่อนหรือยกเว้นการจัดเก็บภาษีบาง

                                  ประเภทชั่วคราว รวมทั้งการให้สิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากรแก่
                                  ธุรกิจต่างๆ โดยหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาสิทธิและประโยชน์ (อัพเดท
                                  ล่าสุดในเดือนมกราคม 2558) แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สิทธิและประโยชน์

                                  ตามประเภทกิจการ (Activity-based incentives) และสิทธิและประโยชน์
                                  เพิ่มเติมตามคุณค่าของโครงการ (Merit-based incentives)
                               <  สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small & Medium-sized

                                  enterprises: SMEs) มีอำนาจและหน้าที่ในการส่งเสริมและสนับสนุน
                                  ให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในทุกภูมิภาคของประเทศเข้าถึงแหล่ง
                                  เงินทุนได้มากขึ้น ตลอดจนช่วยเตรียมความพร้อมให้แก่วิสาหกิจขนาดกลาง

                                  และขนาดย่อมด้านการบริหารจัดการธุรกิจ รวมทั้งเพิ่มช่องทางหรือโอกาส
                                  การเข้าถึงแหล่งเงินทุน ทั้งตลาดเงิน ตลาดทุน และแหล่งเงินทุนอื่นๆ

                    2) กลยุทธ์การพัฒนาบริการสาธารณะพื้นฐาน (Public improvement)


                         =  เป็นกลยุทธ์ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยนิยมใช้มาก ทั้งนี้ตัวอย่างบริการ
                             สาธารณะพื้นฐานที่ท้องถิ่นดำเนินการ ได้แก่ ระบบประปา ระบบไฟฟ้า ถนนและ
                             สะพาน การจัดผังเมือง และการโซนนิ่ง (Zoning)


                  3   องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 753 แห่งนี้ คือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตอบและส่งแบบสอบถามกลับ

               คืนมา ประเภทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดังกล่าวประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 41 แห่ง  เทศบาล
               658 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 53 แห่ง
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56