Page 41 - kpi16531
P. 41

2      นวัตกรรมการพัฒนารายได้
                ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


                             กิจการพาณิชย์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2541 กลับระบุลักษณะของการ
                             ลงทุนกิจการพาณิชย์ที่ให้จัดตั้งนิติบุคคลขึ้นใหม่ได้ เป็นต้น


                    2) ศักยภาพการดำเนินกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคมโดยองค์กรปกครอง
               ส่วนท้องถิ่น


                      = การเลือกรูปแบบกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคม

                        องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยส่วนใหญ่ยังดำเนินกิจการพาณิชย์ในรูปแบบ
               การดำเนินงานด้วยตนเองภายใต้โครงสร้างการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพราะเป็น

               รูปแบบเดียวที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการมายาวนานและสามารถทำได้ทันที ทำให้วิธีการ
               บริหารงานกิจการพาณิชย์แบบราชการที่ยึดถือกฎระเบียบ ขาดความคล่องตัว และขาดการร่วมมือหรือ

               ร่วมทุนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือภาคเอกชน

                        ส่วนรูปแบบกิจการเพื่อสังคมแม้ว่าปัจจุบันกฎหมายไม่ได้ระบุข้อห้ามให้องค์กรปกครอง
               ส่วนท้องถิ่นรูปแบบกิจการเพื่อสังคมแต่การดำเนินงานน้อยมาก และมักดำเนินงานเพื่อแก้ไขอุปสรรค

               จากกฎระเบียบของทางราชการที่ไม่เอื้อต่อการจัดบริการสาธารณะและเพิ่มความคล่องตัวโดยอาจไม่
               ได้ให้ความสำคัญในการหารายได้ในการดำเนินงานของกิจการหรือเป็นกิจการที่มิได้ดำเนินงาน
               เพื่อจัดบริการสาธารณะโดยตรงเช่น การตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์เพื่อการระดมเงินทุนและหารายได้
               ในรูปของเงินปันผลแก่เจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นสมาชิก


                      = การคิดสร้างสรรค์ “ประเภทบริการสาธารณะ” ของการดำเนินกิจการพาณิชย์

                        เนื่องจากประเภทบริการสาธารณะที่ท้องถิ่นดำเนินในรูปแบบกิจการพาณิชย์ ยังจำกัดอยู่

               กับกิจการพาณิชย์ประเภทดั้งเดิมตั้งแต่มีการตรากฎหมายให้เทศบาลสามารถจัดทำเทศพาณิชย์ เช่น
               ตลาด โรงฆ่าสัตว์ ประปา การบำบัดน้ำเสีย โรงรับจำนำ เป็นต้น ทำให้การสร้างสรรค์ประเภทกิจการ
               พาณิชย์ใหม่ๆ ที่นอกเหนือไปจากผลสำรวจมีไม่มากนัก โดยพบว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนใจ
               ดำเนินกิจการพาณิชย์ด้านตลาดมากที่สุด จำนวน 100 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 13.3 รองลงมาลำดับ

               สอง คือ โรงรับจำนำ จำนวน 97แห่ง คิดเป็นร้อยละ 12.9 ลำดับสาม คือ โรงฆ่าสัตว์ จำนวน
               59 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 7.8 ลำดับสี่ คือ ประปา จำนวน 53 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 7
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46