Page 45 - kpi16531
P. 45
2 นวัตกรรมการพัฒนารายได้
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(Community Benefit) โดยที่กิจการพาณิชย์ต้องมีความสามารถในการดำเนินงานแข่งขันกับเอกชน
ได้โดยไม่ถูกปิดกัน มีศักยภาพในการดำเนินงานทางธุรกิจ และมีความชำนาญเฉพาะทางในการจัด
บริการสาธารณะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความคุ้มค่า รวมถึงต้องดำเนินงานภายใต้
การกำกับดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักการธรรมาภิบาล
ประการที่สอง: กิจการเพื่อสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเป็นกิจการที่ดำเนินงาน
จัดบริการสาธารณะเพื่อตอบโจทย์เป้าหมายทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น โดยกิจการเพื่อ
สังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของบุคลากรในกิจการเพื่อสังคมและ
ผู้รับบริการเป็นสำคัญ รวมถึงสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับภาคส่วนต่างๆ
โดยกิจการเพื่อสังคมต้องมีความสามารถในการพึ่งพาและเลี้ยงดูกิจการเพื่อสังคมได้เพื่อลดภาระทาง
งบประมาณของภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเพิ่มความคล่องตัวในการจัดบริการ
สาธารณะ โดยต้องดำเนินงานภายใต้การกำกับดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักการ
ธรรมาภิบาล
อนึ่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็สามารถให้การสนับสนุน ให้ความร่วมมือ หรือถ่ายโอนงาน
การจัดบริการสาธารณะให้กับกิจการเพื่อสังคมของเอกชนมาจัดบริการสาธารณะแทนองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นได้เพื่อแบ่งเบาภาระได้
จากหลักการใหญ่ทั้งสองด้านนำไปสู่หลักการย่อยที่ต้องดำเนินการอีก 9 ด้านดังนี้
= องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยสามารถนำบริการสาธารณะทุกประเภทที่กฎหมายให้อำนาจ
มาดำเนินการในรูปของกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคม
= การจัดบริการสาธารณะในรูปแบบกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคมต้องเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์สาธารณะ (General Interest) และผลประโยชน์เพื่อชุมชน (Community Benefit)
= กิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคมต้องอยู่ภายใต้การควบคุมทิศทางการดำเนินงานของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลให้สามารถจัดบริการตามมาตรฐาน
= การจัดบริการสาธารณะในรูปแบบกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคมต้องมีศักยภาพในการ
หารายได้เพื่อเลี้ยงตนเองได้โดยไม่พึ่งพาการอุดหนุนจากภาครัฐ หรือพึ่งพาให้น้อยที่สุด
หรือพึ่งพาเท่าที่จำเป็น
= การแสวงหากำไรสูงสุด (Profit Maximization) จากการจัดบริการสาธารณะในรูปแบบ
กิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคมสามารถทำได้ แต่ต้องอยู่ในหลักการแสวงหาผลกำไร
ส่วนเพิ่มจากการจัดบริการทางเลือก (Optimal Profit from Optimal Services)
= กิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคมต้องสามารถดำเนินงานแข่งขันกับบุคคลอื่นได้
(Contestability) ในการจัดบริการสาธารณะ แต่ต้องเป็นการแข่งขันเพื่อสร้างประสิทธิภาพ
ความคุ้มค่า และความครอบคลุมต่อผู้รับบริการ หรือเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะโดยไม่
กระทบต่อฐานะทางการคลังของท้องถิ่นและกิจการนั้นต้องไม่ได้รับสิทธิพิเศษที่สร้างความ
ได้เปรียบเหนือภาคเอกชนหรือบุคคลอื่น