Page 43 - kpi16531
P. 43

2      นวัตกรรมการพัฒนารายได้
                ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


               ความเคยชินในการบริหารงานภาครัฐที่ต้องอาศัยอำนาจหน้าที่ตามกฎระเบียบเป็นหลักและมิได้
               ดำเนินงานที่ต้องอาศัยการแข่งขันกับหน่วยงานอื่น


                      = ข้อจำกัดด้านการบริหารงานบุคคลของกิจการพาณิชย์

                        เนื่องจากกิจการพาณิชย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยมักมีรูปแบบการดำเนินงาน
               ด้วยตนเองจึงมีข้อจำกัดในการบริหารงานบุคลากรได้แก่ 1). การเพิ่มอัตรากำลัง เนื่องจากพระราช-

               บัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 35 ที่กำหนดให้การจ่ายเงินเดือน
               และค่าตอบแทนของข้าราชการ พนักงานส่วนท้องถิ่นที่จ่ายจากเงินรายได้ต้องไม่เกินร้อยละ 40 ของ
               งบประมาณรายจ่ายประจำปี ทำให้กรอบอัตรากำลังในการจ้างบุคลากรถูกจำกัดด้วยงบประมาณโดย

               ปริยาย และ 2). ปัญหาการจ่ายค่าตอบแทนที่ดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถ ที่ต้องจ่ายค่าตอบแทน
               ตามอัตราเงินเดือนและค่าจ้างที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วน
               ท้องถิ่นเรื่อง กำหนดมาตรฐานกลางการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีอัตราใกล้เคียงหรือต่ำกว่า

               ค่าตอบแทนที่ได้รับจากการเป็นข้าราชการพลเรือนของส่วนกลางและภาคเอกชน

                    3) ข้อจำกัดจากเจตนารมณ์ทางการเมือง


                         จากการสำรวจโดยคณะผู้วิจัยว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความสนใจหรือมีแผนการ
               ดำเนินกิจการพาณิชย์ไม่มากนัก โดยจากการศึกษาพบว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่
               จำนวน 369 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 49 ไม่สนใจดำเนินกิจการพาณิชย์ ที่ส่วนหนึ่งเกิดจากการขาด
               เจตนารมณ์ทางการเมืองควบคู่ไปกับข้อจำกัดทางกฎหมาย ข้อจำกัดด้านการบริหาร และโครงสร้าง

               รายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน 4 ด้านคือ

                      = การหารายได้จากกิจการพาณิชย์อาจส่งผลต่อความนิยมของผู้บริหารท้องถิ่น


                          เนื่องจากการเก็บค่าบริการของกิจการพาณิชย์ที่กระทบกับความเป็นอยู่ของประชาชน
               และอาจลดความนิยมของผู้สมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่ เช่น ค่าสาธารณูปโภค เป็นต้น ทำให้ท้องถิ่น
               อาจไม่ได้รับรายได้ที่ควรได้อย่างแท้จริงและท้องถิ่นอาจต้องแบกรับต้นทุนการดำเนินงานทดแทน


                      = ท้องถิ่นมีโครงสร้างรายได้ที่พึ่งพาเงินอุดหนุนจากภาครัฐมากเกินไป

                          เนื่องจากสัดส่วนรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยมากกว่าร้อยละ 40 มาจาก
               เงินอุดหนุนของรัฐบาล ทำให้วิธีการทำงานด้านการหารายได้ของผู้บริหารท้องถิ่นอาจให้ความสำคัญ

               กับการของบประมาณจากหน่วยงานรัฐส่วนกลางจนกลายเป็น “วิธีคิดหรือเจตนารมณ์หลัก” ของการ
               บริหารงานท้องถิ่นมากกว่าการสร้างรายได้ของตนเอง

                      = มองว่าการ “ขาดทุนเพื่อประชาชนคือเรื่องจำเป็นที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้”


                          การดำเนินบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวนมากดำเนินงาน
               ในลักษณะที่ขาดทุนหรือได้กำไรน้อยเพื่อประโยชน์สาธารณะและไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชน

               เช่น การคิดค่าน้ำประปาในราคาถูก การไม่จัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ ฯลฯ หรือการ
               ขาดทุนมาจากข้อจำกัดด้านงบประมาณที่จัดสรรลงมาสู่หน่วยบริการสาธารณะเป็นเรื่องจำเป็นที่ไม่
               อาจหลีกเลี่ยงได้ ทั้งที่การแก้ไขปัญหาการขาดทุนสามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องสร้างความ
               เดือดร้อนแก่สาธารณะ
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48