Page 39 - kpi16531
P. 39
22 นวัตกรรมการพัฒนารายได้
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การไม่สามารถทำได้ และ 2). การนิยามให้กิจการพาณิชย์สามารถดำเนินบริการสาธารณะประเภท
“สาธารณูปโภค” ทำให้จำกัดขอบเขตของการจัดบริการสาธารณะของท้องถิ่น แม้ว่าท้องถิ่นบางแห่ง
จะจำเป็นในการจัดบริการ เช่น การไม่อนุญาตให้เทศบาลตำบล สามารถพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อแก้ไข
ปัญหาชุมชนแออัด เพราะพระราชบัญญัติเทศบาลพ.ศ.2496 อนุญาตเฉพาะเทศบาลนครและ
เทศบาลเมือง เป็นต้น
= ข้อจำกัดจากการแข่งขันกับเอกชน
เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มาตรา 87 และรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 84 (1)
กำหนดให้รัฐต้องสนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีโดยอาศัยกลไกตลาดและรัฐต้องไม่ประกอบกิจการ
ที่แข่งกับเอกชน ทำให้การดำเนินกิจการประเภทใดที่มีลักษณะแข่งขันกับเอกชน มุ่งแสวงหากำไร
หรือมีเอกชนเข้ามาดำเนินกิจการในพื้นที่อยู่แล้ว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถดำเนินการได้
โดยคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตีความบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับนี้เมื่อพ.ศ.2544 ที่เห็นว่าการ
ดำเนินการในเรื่องใดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่แข่งขันกับเอกชนไม่สามารถกระทำได้เพราะ
ขัดกับรัฐธรรมนูญพ.ศ.2540 มาตรา 87 ยกเว้นแต่การดำเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการตอบสนองความต้องการของประชาชนโดยไม่ได้ทำเพื่อการค้าที่แสวงหา
ผลกำไรจึงสามารถทำได้แม้ว่าจะแข่งขันกับเอกชนเพราะได้รับการยกเว้นตามมาตรา 87 ของ
2
รัฐธรรมนูญ ซึ่งการตีความนี้กลายเป็นบรรทัดฐานการพิจารณาของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
และหน่วยงานรัฐ การจัดบริการสาธารณะของท้องถิ่นนั้นขัดกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหรือไม่
= ข้อจำกัดในการเลือกรูปแบบของกิจการพาณิชย์
การเลือกรูปแบบของกิจการพาณิชย์ถูกจำกัดด้วยกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2 ประการ คือ ประการแรก รูปแบบของกิจการพาณิชย์ขึ้นอยู่กับประเภทขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นโดยไม่คำนึงถึงปัจจัยอื่น ในด้านความพร้อมของท้องถิ่น งบประมาณ บุคลากร ฯลฯ
เช่น เทศบาลที่ก่อตั้งได้ 4 รูปแบบ (ดำเนินการด้วยตนเอง ก่อตั้งในบริษัทหรือถือหุ้นในบริษัทเกิน
ร้อยละ 50 ก่อตั้งสหการ และเอกชนร่วมทุน) ต่างจากองค์การบริหารส่วนตำบลได้เพียง 2 รูปแบบ
(การดำเนินการด้วยตนเองและเอกชนร่วมลงทุน) และประการที่สอง การขาดความสมเหตุสมผล
ในการจำกัดรูปแบบกิจการพาณิชย์ เช่น เมืองพัทยาพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมือง
พัทยา พ.ศ. 2542 มาตรา 64 และมาตรา 70 (4) ไม่ได้กำหนดให้เมืองพัทยาสามารถจัดตั้งกิจการ
พาณิชย์รูปแบบบริษัททั้งที่เมืองพัทยามีประชากร ฐานะทางการคลัง และศักยภาพเทียบเท่าเทศบาล
ที่สามารถก่อตั้งบริษัทหรือถือหุ้นในบริษัทได้
= ข้อจำกัดการจัดตั้งและถือหุ้นในบริษัทจำกัดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
แม้ว่ากฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอนุญาตให้กรุงเทพมหานคร องค์การ
บริหารส่วนจังหวัด และเทศบาลสามารถจัดตั้งหรือถือหุ้นในบริษัทเพื่อดำเนินกิจการพาณิชย์ได้แต่ใน
ทางปฏิบัติแทบไม่มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทใดที่ดำเนินการจัดตั้งบริษัทหรือถือหุ้น
ในบริษัทเพื่อดำเนินกิจการพาณิชย์ เนื่องจาก
2 บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเรื่อง การประกอบกิจการเคเบิลทีวีของเทศบาล เลขเสร็จ 542/
52544