Page 34 - kpi16531
P. 34
นวัตกรรมการพัฒนารายได้ 1
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1) รัฐควรสร้างความรู้ความเข้าใจ สร้างแรงบันดาลใจ และปรับวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร
ท้องถิ่นให้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดเก็บค่าธรรมเนียม พร้อมทั้งตระหนักว่า การจัดเก็บ
ค่าธรรมเนียมเป็นช่องทางหรือโอกาสในการพัฒนารายได้ด้วยตนเองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2) รัฐควรพัฒนาศักยภาพของบุคลากรท้องถิ่นให้มีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะและความ
สามารถในกระบวนการจัดเก็บค่าธรรมเนียม โดยเฉพาะในเรื่องของการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม
ซึ่งจะเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยเพิ่มรายได้จากค่าธรรมเนียมให้มากยิ่งขึ้น
3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในฐานะผู้จัดให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน และอยู่ใกล้ชิด
กับประชาชน ควรสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับหลักการ “ผู้ใช้เป็นผู้จ่าย”
(User pays Principles) เพื่อให้ประชาชนจ่ายค่าธรรมเนียมด้วยความเต็มใจ ซึ่งจะช่วยให้องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้จากค่าธรรมเนียมเพิ่มมากขึ้น
2. การจัดทำกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคมของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การพัฒนาแนวทางการเพิ่มรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีเป้าหมายในการสร้าง
ความเป็นอิสระกับความยั่งยืนทางด้านการคลังและงบประมาณของท้องถิ่นให้มีรายได้ของตัวเอง
สำหรับการจัดทำบริการสาธารณะ อย่างไรก็ตาม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยในปัจจุบันส่วน
ใหญ่ยังพึ่งพารายได้จากเงินอุดหนุน โดยในพ.ศ.2556 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายรับจากเงิน
อุดหนุนสูงถึง 219,039.74 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 41.3 ของรายได้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ทั้งหมด ในขณะที่รายได้ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บเองกลับมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 8.78 ของ
รายได้ทั้งหมด
ดังนั้น เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีช่องทางจัดหารายได้หนึ่งในแนวทางการเพิ่มรายได้
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอีกแนวทางหนึ่งคือการดำเนินกิจการพาณิชย์ (Local Public
Enterprise) และการดำเนินกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) ซึ่งยังเป็นแนวทางที่องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นไทยยังขาดความชัดเจน ดังนั้นจึงควรศึกษาแนวทางการดำเนินกิจการพาณิชย์
และกิจการเพื่อสังคมในด้านแนวคิด กรณีศึกษาของต่างประเทศ สถานการณ์การดำเนินงานใน
ประเทศไทย เพื่อสร้างข้อเสนอแนะทางนโยบายเพื่อสร้างศักยภาพให้กิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อ
สังคมในอนาคต
ความหมายและกรอบแนวคิดเกี่ยวกับกิจการพาณิชย์ กิจการเพื่อสังคม และ
การจัดบริการสาธารณะ
จากการศึกษาแนวคิดกิจการพาณิชย์ กิจการเพื่อสังคมและการจัดบริการสาธารณะ พบว่ามี
รูปแบบการดำเนินกิจการอยู่ 2 ลักษณะคือ
1) รูปแบบกิจการพาณิชย์ (Local Public Enterprise) คือกิจการที่ท้องถิ่นจัดตั้งเพื่อดำเนินงาน
บริการสาธารณะสำหรับหารายได้ โดยที่กิจการพาณิชย์สามารถดำเนินงานแข่งขันกับเอกชนได้