Page 36 - kpi16531
P. 36
นวัตกรรมการพัฒนารายได้ 1
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
จะเลือกรูปแบบกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคมที่ใช้ดำเนินการ โดยมีมิติการพิจารณาอยู่ 4 มิติ
คือ
< ความเหมาะสมของประเภทบริการสาธารณะ โดยพิจารณาว่าบริการสาธารณะ
ประเภทใดบ้างที่มีความเหมาะสมในการนำมาบริหารจัดการในรูปของกิจการพาณิชย์
หรือกิจการเพื่อสังคม
< ระดับการหาผลประโยชน์และการแสวงหากำไร โดยพิจารณาว่าการจัดทำบริการ
สาธารณะในรูปของกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคม จะสามารถหาประโยชน์และ
แสวงหากำไรได้มากน้อยเพียงใด เพราะบริการสาธารณะบางประเภทสามารถ
แสวงหารายได้และกำไรสูงสุดที่สอดคล้องกับกลไกตลาดและการแข่งขันกับเอกชน
(เช่น การให้เช่าที่ดินแก่ภาคธุรกิจ ฯลฯ) ในขณะที่บริการสาธารณะบางประเภทที่มี
ข้อจำกัดในการแสวงหากำไรสูงสุดเพราะต้องคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะในภาพรวม
(เช่น การคิดค่าธรรมเนียมรถโดยสารสาธารณะ)
< บุคคลหรือกลุ่มเป้าหมายของบริการสาธารณะ โดยพิจารณาว่าการจัดทำบริการ
สาธารณะในรูปของกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคม มีประชาชนที่เป็นกลุ่ม
เป้าหมายในลักษณะใด เช่น การเน้นจัดบริการเฉพาะกลุ่ม (คนพิการ ผู้มีรายได้น้อย
ผู้หญิง เด็ก ฯลฯ) หรือให้บริการครอบคลุมทุกกลุ่ม
< ความสอดคล้องระหว่างประเภทของบริการสาธารณะและรูปแบบของกิจการพาณิชย์/
กิจการเพื่อสังคม เนื่องจากกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคมมีรูปแบบการจัดตั้ง
องค์กรและวัตถุประสงค์การดำเนินงานที่ต่างกัน เช่น การระดมทุนและการหากำไร
หากประเภทจัดบริการสาธารณะที่ต้องการการระดมทุนจำนวนมากผ่านระบบตลาด
สามารถหากำไรจำนวนมาก หรือมีการดำเนินงานในเชิงธุรกิจสูงอาจเหมาะดำเนินการ
ในรูปแบบบริษัทมากกว่ามูลนิธิ หรือลักษณะการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ในกิจการ ถ้าต้องการให้สมาชิกในองค์กรมีการบริหารงานอย่างเท่าเทียมกันอาจเลือก
รูปแบบสหกรณ์มากกว่ารูปแบบบริษัทจำกัดที่เน้นออกเสียงตามจำนวนผู้ถือหุ้น
เป็นต้น
ข้อค้นพบเกี่ยวกับกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคม
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยสามารถดำเนินกิจการพาณิชย์ได้ตามอำนาจที่กำหนด
ในกฎหมาย คือ 1) พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 มาตรา 50 2) พระราช-
บัญญัติเทศบาลพ.ศ.2496 มาตรา 51 (9) มาตรา 54 (12) มาตรา 57 มาตรา 57 ตรี กับมาตรา
61 3) พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 มาตรา 68(11)
4) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 มาตรา 97 (3) กับมาตรา