Page 32 - kpi16531
P. 32

นวัตกรรมการพัฒนารายได้     1
                                                                                 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


                 ในปัจจุบัน หรือมีศักยภาพในการดำเนินการ ประกอบกับ การจัดการสิ่งแวดล้อม และการจัดระเบียบ
                 การจอดยานยนตร์เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะความเป็นเมืองเพิ่มสูงขึ้น


                       ขณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรยกระดับคุณภาพของการให้บริการ เพื่อเป็นทางเลือก
                 ให้แก่ประชาชนกลุ่มผู้มีกำลังซื้อ และลดปริมาณความแออัดในการใช้บริการสาธารณะประเภทหนึ่ง
                 พร้อมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรทำการจัดเก็บค่าธรรมเนียมจากบริการสาธารณะประเภทนี้

                 ในอัตราที่สูงกว่าปกติทั่วไป เพื่อเป็นช่องทางในการพัฒนารายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                 แต่ทั้งนี้การจัดเก็บค่าธรรมเนียมยังคงต้องอยู่ภายใต้หลักการการแลกเปลี่ยนอย่างเป็นธรรม และ
                 การจัดให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนโดยมิหวังผลกำไร พร้อมทั้งคำนึงถึงความเสมอภาคและ
                 เป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสาธารณะของประชาชนทุกกลุ่ม


                       นอกจากนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรอาศัยทุนทางธรรมชาติที่มีอยู่ภายในท้องถิ่น เช่น
                 น้ำตก ป่าไม้ น้ำพุร้อน ฯลฯ มาใช้จัดเป็นบริการสาธารณะให้แก่ประชาชน และทำการจัดเก็บค่า

                 ธรรมเนียมจากการเข้าใช้บริการดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการพัฒนารายได้ของ
                 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขณะเดียวกัน การจัดเก็บค่าธรรมเนียมประเภทนี้ยังเป็นไปตามหลักการ
                 ผู้ใช้เป็นผู้จ่าย (User Pays Principle) ซึ่งจะช่วยกระตุ้นจิตสำนึกของประชาชนให้รู้จักใช้

                 ทรัพยากรธรรมชาติอย่างรู้คุณค่า

                       การศึกษาวิจัยนี้ได้นำเสนอกรณีตัวอย่างการจัดเก็บค่าธรรมเนียมจากบริการสาธารณะทั้ง
                 5 ประเภทดังกล่าว เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งมีข้อเสนอในเชิงกฎหมายเพื่อ

                 พัฒนาการจัดเก็บค่าธรรมเนียมในแต่ละประเภท โดยมีรายละเอียด ดังนี้

                       1) การเก็บและขนขยะมูลฝอย การศึกษาวิจัยนี้นำเสนอกรณีตัวอย่างการจัดเก็บ
                 ค่าธรรมเนียมการเก็บและขนขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์

                 ซึ่งอัตราค่าธรรมเนียมถูกกำหนดไว้ในเทศบัญญัติเทศบาลเมืองตาคลี เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและ
                 มูลฝอย พ.ศ. 2552 โดยอัตราค่าธรรมเนียมขึ้นอยู่กับปริมาณขยะมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูล และกลุ่มผู้รับ
                 บริการ เทศบาลใช้วิธีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมตามครัวเรือนพร้อมกับค่าน้ำประปา (เทศบาลจัดให้

                 บริการน้ำประปา) ซึ่งส่งผลให้สามารถจัดเก็บค่าธรรมเนียมได้ครอบคลุมเกือบทุกครัวเรือน และมีรายได้
                 จากค่าธรรมเนียมประเภทนี้มากขึ้น

                         อย่างไรก็ตาม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะสามารถพัฒนารายได้จากค่าธรรมเนียม

                 เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยได้มากขึ้น หากมีการแก้ไขกฎหมายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                 ทุกแห่งมีอำนาจในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการกำจัดขยะมูลฝอย และสามารถจัดเก็บค่าธรรมเนียม
                 การเก็บและขนขยะมูลฝอยด้วยวิธีการอื่นได้ เช่น การจำหน่ายถุงดำ


                       2) การบำบัดน้ำเสีย การศึกษาวิจัยนี้นำเสนอกรณีตัวอย่างการจัดเก็บค่าธรรมเนียม
                 การบำบัดน้ำเสียของเมืองพัทยา เนื่องจากเมืองพัทยาเป็นเขตควบคุมมลพิษ จึงจัดเก็บค่าธรรมเนียม
                 การบำบัดน้ำเสียโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

                 พ.ศ. 2535 และอัตราค่าธรรมเนียมเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
                 เมืองพัทยาได้ออกข้อบัญญัติหลายฉบับเกี่ยวกับการให้บริการบำบัดน้ำเสีย ซึ่งฉบับล่าสุด ได้แก่
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37