Page 29 - kpi16531
P. 29

12     นวัตกรรมการพัฒนารายได้
                ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


                      2) บทบัญญัติของกฎหมาย ยังจำกัดอำนาจในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมขององค์กร
               ปกครองส่วนท้องถิ่นในหลายลักษณะ ยกตัวอย่างเช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่มีอำนาจในการ

               จัดเก็บค่าธรรมเนียมการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

                    = ข้อจำกัดจากการจัดเก็บค่าธรรมเนียมได้ไม่สมดุลกับต้นทุนค่าใช้จ่าย

                      องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่มีรายได้จากค่าธรรมเนียมน้อยกว่ารายจ่ายในการจัดให้

               บริการสาธารณะ แม้การจัดให้บริการสาธารณะอยู่บนหลักการพื้นฐานที่ไม่คำนึงถึงผลกำไร เพราะ
               เป็นกิจกรรมที่รัฐต้องจัดทำเพื่อประโยชน์และความต้องการของประชาชนโดยรวม แต่ด้วยสถานะ
               ทางการเงินการคลังที่งบประมาณรายรับไม่สมดุลกับงบประมาณรายจ่ายเช่นนี้ ย่อมส่งผลให้องค์กร

               ปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถพึ่งตนเองได้ในทางการคลัง และยังคงต้องพึ่งพางบประมาณจากรัฐ
               เป็นหลัก อันนำไปสู่การขาดอิสรภาพทางการเงินการคลัง ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้องค์กร
               ปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บค่าธรรมเนียมได้ไม่สมดุลกับต้นทุนค่าใช้จ่าย คือ 1) เจตนารมณ์ของ

               ผู้บริหารท้องถิ่นไม่ต้องการจัดเก็บค่าธรรมเนียม หรือไม่ต้องการจัดเก็บค่าธรรมเนียมในอัตรา
               ที่ประชาชนไม่พึงพอใจ เพราะกังวลต่อฐานเสียงทางการเมือง 2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยึด
               หลักการการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมต่ำกว่าต้นทุนค่าใช้จ่าย เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มเข้าถึงบริการ

               สาธารณะ 3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเห็นว่า การดำเนินการจัดเก็บค่าธรรมเนียมเป็นเรื่องยุ่งยาก
               จึงไม่ทำการจัดเก็บค่าธรรมเนียม และ 4) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บค่าธรรมเนียมได้
               ไม่ครอบคลุม เพราะประชาชนไม่ยินดีจ่าย


                    ข้อเสนอแนะในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะของ
               องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


                    เพื่อพัฒนาค่าธรรมเนียมให้เป็นช่องทางสำคัญในการพัฒนารายได้ขององค์กรปกครอง
               ส่วนท้องถิ่น การศึกษาวิจัยนี้จึงมีข้อเสนอแนะใน 3 ด้าน ได้แก่ 1) ข้อเสนอเชิงหลักการ 2) ข้อเสนอ
               บริการสาธารณะที่มีศักยภาพในการพัฒนาเพื่อจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ และ

               3) ข้อเสนอเชิงองค์กร โดยมีรายละเอียด ดังนี้

               1) ข้อเสนอแนะเชิงหลักการ


                      การศึกษาวิจัยนี้เสนอหลักการเบื้องต้นให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการจัดเก็บ
               ค่าธรรมเนียม เพื่อใช้เป็นช่องทางในการพัฒนารายได้ด้วยตนเอง แต่ทั้งนี้ การจัดเก็บค่าธรรมเนียม
               ต้องคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะในระดับท้องถิ่นเป็นสำคัญ ประกอบกับ ยังต้องคำนึงถึงความเป็น
               ธรรมและความเสมอภาคในการเข้าถึงบริการสาธารณะของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย


                      ทั้งนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรตระหนักถึงหัวใจสำคัญของการจัดเก็บค่าธรรมเนียม
               การใช้บริการสาธารณะใน 4 ประการ ได้แก่


                      ประการแรก การจ่ายค่าธรรมเนียมเป็นความสมัครใจส่วนบุคคล  ประชาชนสามารถเลือก
               ที่จะใช้บริการและจ่ายค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะได้
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34