Page 26 - kpi16531
P. 26
นวัตกรรมการพัฒนารายได้
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1
E-LAAS (Electronic Local Administrative Accounting System) แต่มิได้หมายความว่า องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งจะทำการจัดเก็บค่าธรรมเนียมครบทุกประเภท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นมีการจัดให้บริการสาธารณะใดบ้าง
= รายได้จากค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย
เมื่อพิจารณาสถานการณ์รายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยภาพรวมแล้ว พบว่า
รายได้จากค่าธรรมเนียมในปีงบประมาณ 2551-2556 ซึ่งหมายความถึง รายได้จากค่าธรรมเนียม
ค่าปรับ และใบอนุญาต รวมกับรายได้จากสาธารณูปโภคและการพาณิชย์ มีสัดส่วนต่ำกว่าร้อยละ 3
ของรายได้รวม ซึ่งนับเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างต่ำมาก นอกจากนี้ รายได้จากค่าธรรมเนียมก็มิได้มี
แนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละปี
หากพิจารณาจำแนกตามประเภทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้แก่ องค์การบริหาร
ส่วนจังหวัด เทศบาล กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา (ข้อมูลจากสำนักเศรษฐกิจการคลัง: ไม่มี
ข้อมูลขององค์การบริหารส่วนตำบล) พบว่า ในปีงบประมาณ 2551-2556 เมืองพัทยามีสัดส่วน
รายได้จากค่าธรรมเนียมสูงที่สุด กล่าวคือ รายได้จากค่าธรรมเนียมโดยเฉลี่ยต่อปี คิดเป็นร้อยละ
11.83 ของรายได้รวม ทั้งนี้เนื่องจากเมืองพัทยามีรายได้จากค่าธรรมเนียมบริการบำบัดน้ำเสีย
ค่อนข้างสูง รองลงมาลำดับสอง ได้แก่ เทศบาล มีสัดส่วนรายได้จากค่าธรรมเนียมโดยเฉลี่ยต่อปี
ร้อยละ 3.4 ของรายได้รวม ลำดับสาม ได้แก่ กรุงเทพมหานคร มีสัดส่วนรายได้จากค่าธรรมเนียม
โดยเฉลี่ยต่อปี ร้อยละ 1.93 ของรายได้รวม และลำดับสุดท้าย ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด
มีรายได้จากค่าธรรมเนียมโดยเฉลี่ยต่อ ร้อยละ 0.47 ของรายได้รวม
1 “ระบบ e-laas” เป็นระบบที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำเทศบัญญัติ/ข้อ
บัญญัติงบประมาณรายจ่าย วางฎีกาเบิกจ่ายเมื่อมีรายการที่ต้องจ่าย-รับเงินทุกครั้งที่มีการรับจริงทุกประเภท จัดซื้อ/
จ้างที่ต้องซื้อ/จ้าง ข้อมูลบุคลากร ข้อมูลผู้เสียภาษี จัดทำเช็ค เพื่อให้ระบบลงบัญชีออกรายงานการเงินและตรวจสอบ
ทุกวัน”