Page 23 - kpi16531
P. 23

นวัตกรรมการพัฒนารายได้
                ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


               ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้ พร้อมทั้งสร้างแรงบันดาลใจ และกระตุ้น
               ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สนใจและมีความพร้อมได้นำร่องทดลองนำองค์ความรู้ไปใช้ปฏิบัติจริง

               ในพื้นที่ การอบรมเชิงปฏิบัติการนี้จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 20-21 มีนาคม 2558 โดยมีผู้เข้ารับการ
               อบรม จำนวน 80 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารท้องถิ่น และข้าราชการประจำขององค์กรปกครอง
               ส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้แก่ ปลัด รองปลัด ผู้อำนวยการสำนักการ/กองคลัง นักวิชาการคลัง นักบริหารงาน
               ทั่วไป และเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน



               แนวทางใหม่ในการพัฒนารายได้

               ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น



                    แนวทางใหม่ในการพัฒนารายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจากแหล่งรายได้ทั้งสี่ประเภท
               ได้แก่ 1) ค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ 2) กิจการพาณิชย์ 3) การพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่น

               และ 4) การกู้ยืมและพันธบัตร มีสาระสำคัญโดยสังเขป ดังนี้

               1. การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ

                    ความหมายและกรอบแนวคิดเกี่ยวกับ “ค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ”


                    = ความหมายของ “ค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ”

                      ค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ (User Charges) ในบริบทของการบริหารกิจการของ

               องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีลักษณะที่สำคัญ 4 ประการ ได้แก่
                      1) เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการได้รับหรือการใช้บริการสาธารณะ
                      2) ผู้ที่ได้รับหรือผู้ใช้บริการสาธารณะเป็นผู้เสียค่าใช้จ่าย

                      3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้จัดให้บริการสาธารณะ และ
                      4) บริการสาธารณะนั้นต้องเป็นภารกิจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                      กล่าวโดยสรุปได้ว่า ค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ คือ เงินที่เก็บจากการได้รับหรือ

               การใช้บริการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดให้บริการ

                    = ข้อดีของการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ

                      การจัดเก็บค่าธรรมเนียมเป็นช่องทางหนึ่งในการพัฒนารายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

               โดยช่วยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มมากขึ้น มีความสมดุลระหว่างรายรับและรายจ่าย
               มากขึ้น และมีความสามารถในการพึ่งตนเองทางการคลังมากขึ้น นอกจากนี้ การจัดเก็บค่าธรรมเนียม
               ยังมีข้อดีในแง่มุมอื่นๆ อีกหลายประการ ได้แก่ 1) ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้ทรัพยากร

               ธรรมชาติในการจัดให้บริการสาธารณะอย่างคุ้มค่า 2) ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรู้ปริมาณ
               การใช้และความต้องการใช้บริการสาธารณะที่แท้จริง 3) ทำให้ประชาชนใช้บริการสาธารณะอย่าง
               ประหยัด หรือลดการบริโภคที่ไม่จำเป็น 4) เป็นการแสดงถึงความโปร่งใสในการจัดให้บริการ

               สาธารณะโดยประชาชนทราบถึงต้นทุนค่าใช้จ่ายและความคุ้มค่าที่ได้รับ และ 5) ผู้ไม่ได้รับ/ใช้บริการ
               สาธารณะไม่ต้องร่วมรับผิดชอบต้นทุนค่าใช้จ่ายในการจัดให้บริการ
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28