Page 21 - kpi16531
P. 21

นวัตกรรมการพัฒนารายได้
                ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


               พ.ศ.2551-2556 มีสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 20 ของรายได้รวม กล่าวได้ว่า สถานการณ์รายได้ของ
               องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเช่นนี้จะส่งผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถพึ่งตนเองได้

               ในทางการคลัง และยังคงต้องพึ่งพิงงบประมาณจากรัฐบาลเป็นหลัก ประกอบกับ องค์กรปกครอง
               ส่วนท้องถิ่นยังขาดอิสรภาพทางการคลังจากการใช้เงินอุดหนุนตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดมาให้
               ที่สำคัญ เมื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับเงินอุดหนุนจำนวนน้อยยิ่งทำให้องค์กรปกครอง
               ส่วนท้องถิ่นประสบกับปัญหารายได้ไม่เพียงพอต่อการพัฒนาท้องถิ่น





               การศึกษาวิจัย “นวัตกรรมการพัฒนารายได้

               ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”



                    วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า และมูลนิธิเอเชีย (The Asia
               Foundation) ตระหนักถึงความสำคัญของสถานการณ์การเงินการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
               ดังที่ได้กล่าวข้างต้น จึงร่วมกันดำเนินการศึกษาวิจัยเรื่อง “ข้อเสนอเชิงนโยบายนวัตกรรม
               การพัฒนารายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อเสนอแนวทาง

               ใหม่ในการพัฒนารายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และจัดทำเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อ
               ผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนในทางปฏิบัติต่อไป

               P ขอบเขตเนื้อหาในการศึกษาวิจัย


                    จากโครงสร้างรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปัจจุบัน การศึกษาวิจัยนี้มุ่งสังเคราะห์
               แนวทางการพัฒนารายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจากแหล่งรายได้ 4 ประเภท ได้แก่
                    1) ค่าธรรมเนียมในการใช้บริการสาธารณะ (User Charges)

                    2) กิจการพาณิชย์
                    3) การพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่น (Local Economic Development)

                    4) การกู้ยืมและการจำหน่ายพันธบัตร

                    การพัฒนารายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจากแหล่งรายได้ทั้งสี่ประเภทนี้ เป็นแนวทาง
               ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับหลักการการกระจาย

               อำนาจทางการคลังสู่ท้องถิ่น การพัฒนารายได้กลุ่มนี้จะช่วยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้
               ที่จัดเก็บเองเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นลดการพึ่งพิงงบประมาณจาก
               รัฐบาล พึ่งพาตนเองในทางการคลังได้มากขึ้น และมีความเป็นอิสระทางการคลังมากขึ้น หากองค์กร
               ปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้ที่จัดเก็บเองในสัดส่วนที่ค่อนข้างมาก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ย่อม

               มีความมั่นคงทางการคลังมากขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน

                    อย่างไรก็ตาม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจยังไม่คุ้นเคย หรือมิได้ให้ความสำคัญกับการ
               พัฒนารายได้จากแหล่งรายได้ทั้งสี่ประเภทนี้มากนัก เพราะที่ผ่านมา ยังไม่มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ

               เรื่องนี้อย่างชัดเจน การศึกษาวิจัยนี้จึงจะช่วยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความรู้ความเข้าใจ
               ในการพัฒนารายได้จากแหล่งรายได้ทั้งสี่ประเภทนี้ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีแนวทางใหม่

               หรือนวัตกรรมในการพัฒนารายได้ด้วยตนเอง เพื่อเป็นทางเลือกในการพัฒนารายได้ขององค์กร
               ปกครองส่วนท้องถิ่นต่อไป
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26