Page 20 - kpi16531
P. 20
สถานการณ์การกระจายอำนาจ
ทางการคลังสู่ท้องถิ่น
การเงินการคลังถือเป็นหัวใจสำคัญในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีศักยภาพทางการเงินการคลังย่อมสามารถจัดบริการ
สาธารณะที่ตอบสนองต่อความต้องการและความจำเป็นของประชาชนในพื้นที่ได้ รวมทั้ง
ยังสามารถสร้างสรรค์บริการสาธารณะในรูปแบบใหม่ๆ หรือนวัตกรรมในการบริการ
สาธารณะเพื่อพัฒนาคุณภาพของการบริการให้มากยิ่งขึ้น กล่าวได้ว่า การมีศักยภาพ
ทางการเงินการคลังเป็นเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สามารถจัดบริการสาธารณะได้สำเร็จลุล่วงและมีคุณภาพ นอกจากนี้ การที่องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นมีศักยภาพทางการเงินการคลังที่เข้มแข็ง ยังแสดงให้เห็นถึงความ
สำเร็จของการกระจายอำนาจทางการคลัง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีศักยภาพ
ทางการเงินการคลังที่เข้มแข็งจะสามารถบริหารการเงินการคลังได้อย่างอิสระ และ
สามารถพึ่งพาตนเองได้ กล่าวคือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีอำนาจในการตัดสินใจ
(Local Sovereignty) ใช้จ่ายงบประมาณจากแหล่งรายได้ของตนเองได้อย่างเต็มที่ และ
มิต้องพึ่งพิงงบประมาณอุดหนุนจากรัฐบาลเป็นหลัก
การกระจายอำนาจทางการคลังสู่ท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2540 ต่อเนื่องมาจนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
2550 ส่งผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับทรัพยากรทางการคลังหรือมีรายได้
เพิ่มมากขึ้น ซึ่งรายได้ที่สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาจากรายได้ที่รัฐบาล
จัดเก็บให้ รายได้ที่รัฐบาลแบ่งให้ และเงินอุดหนุน หากแต่รายได้ที่องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นจัดเก็บเองกลับมีสัดส่วนค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับรายได้รวม โดยในปี