Page 31 - kpi16531
P. 31
1 นวัตกรรมการพัฒนารายได้
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
รูปแบบที่หนึ่ง: การจัดเก็บค่าธรรมเนียมในอัตราที่เท่ากับต้นทุนค่าใช้จ่ายในการจัด
ให้บริการ เหมาะกับบริการสาธารณะที่มีการยกระดับคุณภาพการให้บริการที่ดีขึ้นกว่ามาตรฐานทั่วไป
รูปแบบที่สอง: การจัดเก็บค่าธรรมเนียมในอัตราที่เท่ากับต้นทุนค่าใช้จ่ายในการจัด
ให้บริการสำหรับประชาชนบางกลุ่ม แต่สำหรับประชาชนบางกลุ่ม เช่น ผู้สูงอายุ เด็ก และองค์กร
ไม่แสวงหากำไร จัดเก็บในอัตราที่ต่ำกว่าต้นทุนค่าใช้จ่าย เหมาะกับบริการสาธารณะที่เกินความ
จำเป็นขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตประจำวัน แต่ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น และเป็นบริการสาธารณะ
ที่สามารถแยกการให้บริการเป็นรายหน่วยได้
รูปแบบที่สาม: การจัดเก็บค่าธรรมเนียมในอัตราที่ต่ำกว่าต้นทุนค่าใช้จ่ายในการจัด
ให้บริการ เหมาะกับบริการสาธารณะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในขั้นพื้นฐาน หรือเป็นบริการสาธารณะ
ที่ไม่สามารถแยกการจัดให้บริการเป็นรายหน่วยได้
นอกจากนี้ ผู้วิจัยเห็นว่า ค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะประเภทเดียวกันอาจไม่
จำเป็นต้องกำหนดอัตราเดียวกันทั่วทั้งประเทศ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรกำหนดอัตรา
ค่าธรรมเนียมให้สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทในพื้นที่ของตน เช่น กลุ่มผู้รับบริการ สภาพเศรษฐกิจ
ในพื้นที่ ฯลฯ หากเป็นเช่นนี้ อัตราค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะประเภทเดียวกันย่อมจะ
แตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่
2.2) การอุดหนุนต้นทุนค่าใช้จ่ายในการจัดให้บริการสาธารณะ องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นควรทำการอุดหนุนต้นทุนค่าใช้จ่ายในการจัดให้บริการสาธารณะแก่บริการสาธารณะที่เป็น
ประโยชน์ต่อส่วนรวม หรือเมื่อต้องการให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อย/ผู้ด้อยโอกาสเข้าถึงบริการ
สาธารณะ หรือเมื่อต้องการกระตุ้นให้เกิดการใช้บริการสาธารณะ นอกจากนี้ องค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นควรพิจารณาให้การอุดหนุนในสัดส่วนที่เหมาะสม
3) โครงสร้างค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ
โครงสร้างค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะมีหลากหลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น
ค่าธรรมเนียมอัตราเดียว, ค่าธรรมเนียมแบบขั้นบันได ซึ่งมีการแปรผันตามช่วงชั้นปริมาณการใช้
บริการ, ค่าธรรมเนียมตามช่วงเวลาในการใช้บริการ และค่าธรรมเนียมตามกลุ่มผู้ใช้บริการ เป็นต้น
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถเลือกกำหนดโครงสร้างค่าธรรมเนียมให้เหมาะสมกับบริการ
สาธารณะได้
2) ข้อเสนอแนะการบริการสาธารณะที่มีศักยภาพในการพัฒนาเพื่อจัดเก็บ
ค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ
การศึกษาวิจัยนี้เสนอให้ 1) การเก็บและขนขยะมูลฝอย 2) การบำบัดน้ำเสีย 3) การจัด
ระเบียบการจอดยานยนตร์ 4) บริการสาธารณะที่มีการยกระดับคุณภาพการให้บริการ และ 5) แหล่ง
ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เป็นบริการสาธารณะที่มีศักยภาพในการพัฒนาเพื่อจัดเก็บค่าธรรมเนียม
โดยการศึกษาวิจัยนี้เห็นว่า การเก็บและขนขยะมูลฝอย การบำบัดน้ำเสีย และการจัดระเบียบ
การจอดยานยนตร์ เป็นบริการสาธารณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่วนใหญ่ดำเนินการอยู่แล้ว