Page 35 - kpi16531
P. 35
1 นวัตกรรมการพัฒนารายได้
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
แต่การดำเนินบริการสาธารณะและการแสวงหาผลกำไรของกิจการพาณิชย์ต้องคำนึงถึงประโยชน์
สาธารณะที่ให้กับชุมชนท้องถิ่น (Community Benefit) โดยมี 3 รูปแบบคือ
< การดำเนินงานด้วยตนเองในฐานะหน่วยงานหนึ่งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
โดยที่หน่วยงานนั้นไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคล
< การดำเนินงานผ่านการจัดตั้งบริษัทที่เป็นนิติบุคคลเอกชนตามกฎหมายจัดตั้ง บริษัท
เอกชนที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ถือหุ้นและมีอำนาจกำกับดูแลกิจการ
ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมมากที่สุด โดยบริษัทนี้ต้องดำเนินกิจการที่รับผิดชอบต่อสังคม
(Corporate Social Responsibility - CSR)
< การดำเนินงานผ่านการจัดตั้งองค์กรของท้องถิ่นที่เป็นนิติบุคคลมหาชนแยกออกจาก
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ให้งบประมาณ
สนับสนุนและมีอำนาจกำกับดูแลกิจการ
2) รูปแบบกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) คือ กิจการที่ไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อมุ่งหา
ผลกำไรสูงสุดแก่ผู้ถือหุ้นเหมือนกับบริษัทเอกชน แต่มุ่งดำเนินกิจการเพื่อตอบโจทย์เป้าหมายทาง
สังคมและสิ่งแวดล้อมของสมาชิกหรือชุมชนได้แก่ การปรับปรุงบริการสาธารณะ การพัฒนาเศรษฐกิจ
การพัฒนาชุมชน และการดูแลคนกลุ่มต่างๆ ในสังคม โดยกิจการเพื่อสังคมต้องมีความสามารถในการ
พึ่งพาและเลี้ยงดูตนเองได้เพื่อลดภาระทางงบประมาณของภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เพิ่มความคล่องตัวในการจัดบริการสาธารณะ โดยที่บุคลากรในกิจการเพื่อสังคมและผู้ใช้บริการของ
กิจการเพื่อสังคมควรมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดต่อกันและมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางของกิจการ
โดยกิจการเพื่อสังคมอาจเป็นได้ทั้ง 1). กิจการสังคมที่ริเริ่มจากรัฐบาลท้องถิ่นโดยตรง หรือ
2). กิจการเพื่อสังคมของเอกชนที่รัฐบาลท้องถิ่นให้การสนับสนุน
รูปแบบการดำเนินกิจการเพื่อสังคมที่ปรากฏมีฐานะเป็นนิติบุคคลใน 4 รูปแบบได้แก่
< รูปแบบกิจการที่แรงงานเป็นเจ้าของ (Employee ownership) ที่สมาชิกขององค์กร
เป็นผู้ดำเนินงานและเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการเพื่อสังคม
< รูปแบบสหกรณ์ (Co-operatives) ตามกฎหมายจัดตั้งสหกรณ์ที่ผู้ถือหุ้นสหกรณ์
จะดำเนินงานโดยเน้นเสียงข้างมากตามหลักประชาธิปไตย
< รูปแบบบริษัทเพื่อสังคม (Social firms) คือการจัดตั้งบริษัทจำกัดตามกฎหมายจัดตั้ง
บริษัทแต่กำหนดให้เป้าหมาย กิจกรรม และผลกำไรจากการดำเนินงานต้องเป็นไป
เพื่อสังคมโดยตรง
< รูปแบบมูลนิธิการกุศลที่ทำการค้า (Trading Charity) คือการจัดตั้งมูลนิธิตาม
กฎหมายจัดตั้งมูลนิธิ โดยมูลนิธิสามารถดำเนินกิจกรรมเพื่อการค้าหรือหาผลกำไร
สำหรับใช้ดำเนินงานเพื่อสังคม
โดยการเลือกทำกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ต้องพิจารณาคำนึงถึงเป้าหมาย/วัตถุประสงค์ และประเภทของบริการสาธารณะที่จะดำเนินการก่อน