Page 367 - kpi16531
P. 367
3 0 นวัตกรรมการพัฒนารายได้
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ที่ต้องสำรองไว้ในกองทุนสำหรับการชำระหนี้อาจถูกกำหนดโดยสัดส่วนของการชดเชยจากรัฐบาล
กลางในกรณีของโครงการลงทุนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่ไม่อาจควบคุมได้ เช่น ภัยพิบัติ
(debt service reserve fund) ในกรณีของผู้ลงทุนการพิจารณาข้อกำหนดที่เข้มงวด (restrictive
covenants) จะครอบคลุมถึงอัตราค่าบริการที่เรียกเก็บ ซึ่งองค์ปกครองส่วนท้องถิ่นควรมีการกำหนด
อัตราค่าบริการเหล่านี้ เพื่อลดผลกระทบจากการแทรกแซงทางการเมือง อันจะเป็นประโยชน์ต่อ
สาธารณะ และช่วยพัฒนากลไกการประเมินความคุ้มค่าของโครงการลงทุน
โดยพันธบัตรรายได้ที่ได้รับความนิยมมักจะเป็นพันธบัตรที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ
สาธารณูปโภค (Public power revenue bonds) เช่น การให้บริการโรงงานผลิตไฟฟ้า ระบบน้ำ
ประปา และระบบการขนส่งสาธารณะ เช่นเดียวกับการให้บริการด้านการกำจัดขยะอุตสาหกรรม หรือ
ขยะมีพิษ ซึ่งจะเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้ (pollution control revenue and industrial development
revenue bonds) ตัวอย่างของพันธบัตรประเภทนี้ เช่น
< พันธบัตรรายได้สนามบิน (airport revenue bond) ผู้ออกพันธบัตรประเภทนี้
มีรายได้สำคัญมาจากค่าธรรมเนียมที่เก็บจากผู้มาใช้บริการของสนามบิน ได้แก่
ค่าธรรมเนียมการจอดอากาศยาน (landing fees) ค่าธรรมเนียมสัมปทาน
(concession fees) ค่าธรรมเนียมเชื้อเพลิงของสายการบิน (airline fueling
fees) หรือค่าธรรมเนียมที่เก็บจากสายการบินที่มาใช้เครื่องอำนวยความ
สะดวกของทางสนามบิน ฯลฯ เป็นต้น
< พันธบัตรรายได้มหาวิทยาลัยและพันธบัตรรายได้วิทยาลัย (college and
university revenue bonds) พันธบัตรประเภทนี้มีรายได้จาก ค่าเล่าเรียน
ค่าเช่าหอพัก หรือรายได้อื่นๆ ที่ได้จากทรัพย์สินของทางมหาวิทยาลัย
< พันธบัตรรายได้เพื่อที่อยู่อาศัย (housing revenue bonds) เป็นพันธบัตร
ที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐ หรือของท้องถิ่นที่มีหน้าที่ในการหาเงินทุนเพื่อ
โครงการบ้าน และที่อยู่อาศัย สำหรับประชาชนที่ซื้อบ้านของตนเองเป็น
ครั้งแรก หรือ สำหรับทหารผ่านศึก และผู้สูงอายุ
นอกจากนี้ยังมีพันธบัตรรายได้ชนิดอื่นๆ อีก เช่น พันธบัตรเพื่อควบคุมมลภาวะ
(pollution control bonds) พันธบัตรเพื่อเงินกู้นักเรียน (student-loan bonds) พันธบัตรเพื่อพลังงาน
(power bonds) พันธบัตรทางด่วน (toll roads bonds) พันธบัตรท่าเรือ (seaport bonds) หรือ
พันธบัตรรายได้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง เป็นต้น
การออกพันธบัตรมีข้อดีหลายประการ อาทิ เป็นการเพิ่มช่องทางในการเข้าถึง
แหล่งเงินทุนระยะยาวให้กับท้องถิ่น อัตราออกเบี้ยต่ำกว่าการกู้ยืมจากธนาคารหรือสถาบันการเงิน
เป็นการส่งเสริมศักยภาพและความสามารถทางการบริหารและจ่ายคืนเงินกู้ และช่วยกระตุ้น
การพัฒนาประวัติหรือการจัดลำดับเครดิตของแต่ละท้องถิ่น (Leigland, 1997; Martell & Guess,
2006; Pettis, 2000; Platz, 2009) การออกพันธบัตรเป็นวิธีที่ควรนำมาใช้เพื่อการลงทุนระยะยาว
(15 ปีขึ้นไป) เช่น การลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค เนื่องจากเป็นการกู้ยืม
ที่สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายเรื่องของดอกเบี้ยเงินกู้ ตลอดจนอายุของพันธบัตร (Debt maturity) และ