Page 364 - kpi16531
P. 364

นวัตกรรมการพัฒนารายได้     3
                                                                                 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


                         และก่อให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อ (Inflation) และ 5) การกู้เงินของรัฐย่อมส่งผลกระทบต่อ
                         การลงทุนต่างในภาคเอกชน เนื่องจากเงินที่รัฐบาลกู้ไปย่อมเป็นเงินที่เอกชนจะนำไปลงทุน

                         อยู่บ้างไม่มากก็น้อย

                      2.  แนวคิดกลุ่ม Keynesian นักวิชาการกลุ่มนี้มีความคิดเห็นว่า โดยปกติภาวะเศรษฐกิจ
                         มีแนวโน้มที่จะตกต่ำ และมีการว่างงานเกิดขึ้นตลอดเวลา เพราะฉะนั้นงบประมาณของ

                         รัฐบาลจึงต้องขาดดุลตลอดเวลา จำเป็นต้องมีการก่อหนี้สาธารณะเพื่อนำมาชดเชยการขาด
                         ดุลงบประมาณ ดังนั้นนักวิชาการกลุ่มนี้จึงมีความเห็นว่า “หนี้สาธารณะเป็นสิ่งจำเป็น
                         ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้”


                      3.  นักเศรษฐศาสตร์ยุคปัจจุบัน (Post-Keynesian) นักวิชาการกลุ่มนี้มีความคิดเห็นเป็นกลาง
                         เกี่ยวกับการก่อหนี้สาธารณะ โดยเห็นว่าถ้าหากมีความจำเป็นในการลงทุนหรือเพื่อแก้ไข
                         สภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนก็จำเป็นต้องก่อหนี้สาธารณะ เพราะฉะนั้นนักวิชาการกลุ่มนี้จึงมี

                         ความเห็นว่า การก่อหนี้สาธารณะควรพิจารณาตามสถานการณ์และความจำเป็นในการ
                         ลงทุนเพื่อกระตุ้นหรือแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ

                  .2.2 หลักการเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินและพันธบัตรท้องถิ่น


                       การยืมเป็นวิธีการหนึ่งที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถทำได้ เพื่อนำเอาเงินในอนาคต
                 มาลงทุนในกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเห็นว่ามีความจำเป็นและไม่สามารถ
                 รอได้ โดยการกู้ยืมที่ดีต้องคำนึงถึงความสามารถในการใช้คืนด้วย เพราะถ้าหากไม่สามารถใช้คืนได้

                 การยืมนั้นก็จะทำลายฐานะทางการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอนาคตได้ ในทางตรงกัน
                 ข้ามถ้าการกู้ยืมนั้นนำไปสู่การเพิ่มพูนรายได้ ฐานะทางการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                 ในอนาคตจะดีขึ้น (อุดม ทุมโฆสิต, 2552: 461)


                       การกู้ยืมเป็นทางเลือกที่สำคัญอย่างหนึ่งในการเพิ่มรายรับให้แก่ท้องถิ่น ถือเป็นช่องทางหนึ่ง
                 ในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเหตุผลหลักที่องค์กรปกครองส่วน
                 ท้องถิ่นต้องกู้ยืม คือ การมีรายได้จำกัดหรือไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับรายจ่ายขององค์การ ทั้งนี้รายได้

                 ดังกล่าวมาจากรายได้ที่ท้องถิ่นจัดเก็บเอง รายได้ที่รัฐบาลกลางจัดเก็บให้และแบ่งให้ รวมทั้ง
                 เงินอุดหนุนจากส่วนกลาง การมีรายได้จำกัดส่งผลต่อการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครอง
                 ส่วนท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นด้านคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความเพียงพอของการให้บริการ


                       Peterson (2003) แบ่งระบบสินเชื่อหรือการกู้ยืมของท้องถิ่นออกเป็น 2 ระบบหลัก ได้แก่
                 1) การกู้ยืมหรือให้สินเชื่อผ่านระบบธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (Bank
                 lending) ซึ่งการกู้ยืมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในลักษณะนี้สามารถกระทำได้หลายรูปแบบ

                 แต่ทั้งนี้รัฐบาลต้องมีการกำหนดกฎระเบียบในการกู้ยืมเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่าง
                 เหมาะสม และ 2) การกู้ยืมโดยการออกพันธบัตรรัฐบาล (Municipal/local bond issuance) ซึ่งการ
                 กู้ยืมรูปแบบนี้ท้องถิ่น (1 แห่งหรือมากกว่า 1 แห่ง) อาจทำการกู้ยืมหรือออกพันธบัตรเองโดยตรง

                 หรือรัฐบาลกลางอาจเป็นตัวแทนในการกู้แล้วนำเงินจากการขายพันธบัตรมาให้องค์กรปกครอง
                 ส่วนท้องถิ่นกู้ยืมต่อไป ทั้งนี้ลักษณะการกู้ยืมจะขึ้นอยู่กับโครงสร้างการปกครอง อำนาจหน้าที่ของ
                 ท้องถิ่น และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการกู้ยืมของท้องถิ่นที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย
   359   360   361   362   363   364   365   366   367   368   369