Page 365 - kpi16531
P. 365

3        นวัตกรรมการพัฒนารายได้
                ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


                    โดยระบบสินเชื่อหรือการกู้ยืมทั้ง 2 ระบบนี้มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันดังต่อไปนี้

                    1. การกู้ยืมผ่านธนาคารและสถาบันการเงิน


                      เป็นวิธีการกู้ยืมที่นิยมใช้ในประเทศกำลังพัฒนาและในท้องถิ่นที่มีประวัติด้านการกู้ยืม
               ไม่มากนัก หรือไม่มีประวัติการจัดลำดับความน่าเชื่อถือทางการเงิน กล่าวคือไม่มี Record of credit
               ratings ที่เพียงพอนั่นเอง (Boot &Thakor, 1997) การกู้ยืมลักษณะนี้สามารถทำได้หลายช่องทาง

               เช่น การกู้ยืมผ่านธนาคารหรือสถาบันการเงินทั่วไปหรือเฉพาะกิจ การกู้ยืมจากกองทุนเงินสะสมของ
               องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอง (อาทิเช่น กองทุนส่งเสริมกิจการเทศบาล และกองทุนเงินสะสมของ

               องค์การบริหารส่วนจังหวัด) และการกู้ยืมผ่านกองทุนเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เป็นต้น

                      ข้อดีของการกู้เงินผ่านสถาบันการเงิน คือ ในการกู้ยืมลักษณะนี้ธนาคารหรือสถาบันการเงิน
               ถือเป็นตัวกลางที่ทำหน้าที่ดูแลควบคุมการปล่อยสินเชื่อให้แก่ท้องถิ่น (Delegated monitoring

               services) จึงจำเป็นต้องมีการหาข้อมูล วิเคราะห์ และประเมินข้อมูลทางการเงินของท้องถิ่นที่จะกู้
               เพื่อกำหนดวงเงินและเงื่อนไขสินเชื่อที่เหมาะสม การดำเนินการดังกล่าวช่วยลดปัญหาความไม่สมดุล
               ทางข้อมูล (Information asymmetry) ลดต้นทุนด้านการเจรจา การติดตามควบคุม และการบังคับใช้
               สัญญา (Transaction, monitoring, and contract enforcing costs) และลดความเสี่ยงทางการเงินที่จะ

               เกิดขึ้น (Diamond, 1989, 1991; สกนธ์ วรัญญวัฒนา, 2553) ในด้านของผู้กู้ การกู้ลักษณะนี้
               ค่อนข้างมีความยืดหยุ่น กล่าวคือ ท้องถิ่นที่กู้สามารถเจรจาข้อตกลงในการกู้และการผ่อนผันการชำระ

               หนี้(ในกรณีที่จำเป็น) กับสถาบันการเงินได้ (Chemmanur&Fulghieri, 1994)

                      ข้อเสียที่สำคัญของระบบการกู้ยืมผ่านสถาบันการเงิน คือ พฤติกรรมของธนาคารหรือ
               สถาบันการเงินที่เรียกว่า Rent-seeking behavior กล่าวคือ ธนาคารหรือสถาบันการเงินอาจใช้อำนาจ

               ควบคุมการตัดสินใจในการลงทุนหรือการดำเนินกิจการของท้องถิ่นเนื่องจากเป็นผู้อนุมัติสินเชื่อ
               ตลอดจนการกำหนดดอกเบี้ยเงินกู้หรือค่าธรรมเนียมที่สูงเพื่อเพิ่มผลกำไรของสถาบันการเงิน ทั้งนี้
               กรณีดังกล่าวได้เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นและเยอรมัน ซึ่งส่งผลเสียต่อการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวม
               (Allen & Gale, 1995; Weinstein &Yafeh, 1998)


                    2. การออกพันธบัตรรัฐบาล


                      เป็นวิธีการกู้ยืมที่นิยมใช้ในประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้
               เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีโครงสร้างทางการเงินที่หลากหลาย สถาบันการเงินมีความมั่นคง มีการ
               พัฒนาของตลาดตราสารหนี้ (ทั้งตลาดแรกและตลาดรอง) ที่มีเสถียรภาพ และมีประวัติการจัดลำดับ
               ความน่าเชื่อถือทางการเงินที่ดี (High credit ratings) (Boot &Thakor, 1997; De Mello, 2000;

               Peterson, 2003) โดยพื้นฐานประเภทของพันธบัตรท้องถิ่นสามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบหลักๆ
               ได้แก่ 1) พันธบัตรที่เกี่ยวข้องกับภาษี (General Obligation bonds หรือ Tax-backed bonds) และ

               2) พันธบัตรรายได้ (Revenue bonds) โดยมีรายละเอียดของแต่ละประเภทดังนี้ (ภัทรกิตติ์
               เนตินิยม, 2554: 4-5และอภิวัฒน์ รัตนวราหะ, 2550: 31-33)
   360   361   362   363   364   365   366   367   368   369   370