Page 363 - kpi16531
P. 363

3        นวัตกรรมการพัฒนารายได้
                ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


                .2 ความหมายและกรอบความคิด


                .2.1 ความหมาย


                    หนี้สาธารณะ (Public Debt) หมายถึง หนี้ที่รัฐบาลเป็นผู้ก่อขึ้นเพื่อนำเงินมาใช้จ่าย หรือเพื่อ
               เป็นแหล่งรายรับอย่างหนึ่งนอกเหนือจากภาษีอากร การขายสิ่งของและบริการ รายได้จากรัฐพาณิชย์

               และเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ แต่อย่างไรก็ตามแม้รัฐบาลจะเป็นผู้ก่อหนี้แต่ไม่นิยมเรียกว่าหนี้ของ
               รัฐบาล (Government Debt) เนื่องจากผู้มีหน้าที่ใช้คืนเงินต้น และดอกเบี้ยก็คือประชาชนนั้นเอง
               โดยรัฐบาลจะกำหนดงบประมาณรายจ่ายเพื่อชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยไว้ และเก็บภาษีอากรจาก

               ประชาชนเพื่อชำระหนี้สินที่เกิดขึ้น (จีรพรรณ ชีรานนท์, 2548: 212) ซึ่งสอดคล้องกับคำนิยาม
               ที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551
               มาตรา 4 ว่า หนี้สาธารณะ หมายถึง “หนี้ที่กระทรวงการคลัง หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจกู้

               หรือหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน แต่ไม่รวมถึงหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ทำธุรกิจให้กู้ยืมเงิน
               โดยกระทรวงการคลังมิได้ค้ำประกัน” ส่วนการกู้ยืมเงินของท้องถิ่น หมายถึง การกู้เงินขององค์กร
               ปกครองส่วนท้องถิ่นจากแหล่งเงินกู้ในประเทศและต่างประเทศ การเช่าซื้อ และการใช้สินเชื่อด้วยการ
               ผ่อนชำระ รวมทั้งการกู้เงินเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน


                    พันธบัตรรัฐบาล หมายถึง ตราสารหนี้ที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ออก เพื่อกู้เงินจาก
               ประชาชน ดังนั้น รัฐบาลจะอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ ส่วนผู้ที่ถือพันธบัตร ได้แก่ ประชาชน สถาบัน
               การเงิน หรือองค์กรใดๆ ที่ถือพันธบัตรมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของรัฐบาล ส่วนพันธบัตรเทศบาลเป็น

               รูปแบบหนึ่งของการระดมทุนจากรายได้ที่ประเมินว่าจะเก็บได้จากภาษีและค่าธรรมเนียมในช่วงเวลา
               การให้บริการ โดยที่พันธบัตรท้องถิ่นหรือพันธบัตรเทศบาลนั้นจะมีความหมายคล้ายคลึงกับพันธบัตร

               รัฐบาล กล่าวคือ ในความเป็นจริงแล้วทั้งพันธบัตรรัฐบาล (Government Bond) และพันธบัตร
               เทศบาล (Municipal Bond) ต่างก็มีความคล้ายคลึงกันตรงที่เป็นพันธบัตรที่ออกโดยหน่วยงานภาครัฐ
               เหมือนกัน โดยพันธบัตรรัฐบาลออกโดย “รัฐบาล” ซึ่งมีหน้าที่ปกครองดูแลและบริหารงานในระดับ
               ประเทศ ในขณะที่พันธบัตรท้องถิ่นหรือพันธบัตรเทศบาลออกโดย “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”

               ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ได้รับกระจายอำนาจมาจากส่วนกลาง เพื่อทำหน้าที่ในการบริหารงาน และ
               จัดบริการสาธารณะในพื้นที่ต่างๆ

                    สำหรับกรอบหรือแนวทางการพิจารณาเกี่ยวกับหนี้สาธารณะ สามารถจำแนกออกเป็น

               3 แนวคิดสำคัญ ดังนี้ (ปรีชา สุวรรณทัต, 2554: 181-184)

                    1.  แนวคิด Classic นักวิชาการกลุ่มนี้มีความคิดเห็นไปในแนวทางเดียวกัน คือคัดค้านการ

                       ก่อหนี้สาธารณะอย่างสุดโต่ง โดยมีเหตุผลสนับสนุน ดังนี้ 1) การก่อหนี้สาธารณะเป็น
                       วิธีการหาเงินที่ง่าย จึงอาจส่งผลให้รัฐบาลใช้จ่ายเงินเพิ่มขึ้นโดยขาดความรับผิดชอบ
                       2) การกู้ยืมเงินส่งผลให้เกิดภาระการใช้คืนเงินต้นและดอกเบี้ยในอนาคตซึ่งส่งผลให้ภาระ

                       หนี้ดังกล่าวตกอยู่ที่ประชาชน เพราะอาจจำเป็นต้องมีการเก็บภาษีหรือจัดเก็บรายได้จาก
                       ประชาชนเพื่อนำมาชำระคืนหนี้สาธารณะดังกล่าว 3) การสะสมหนี้ก่อให้เกิดภาระการชำระ
                       หนี้ดอกเบี้ยสูงในอนาคต 4) ก่อให้เกิดการขาดเสถียรภาพทางการคลังและทางเศรษฐกิจ
   358   359   360   361   362   363   364   365   366   367   368