Page 358 - kpi16531
P. 358
นวัตกรรมการพัฒนารายได้ 3 1
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ด้านการเงินและการบริหารหนี้ รวมทั้งมีทักษะและความสามารถในการเจรจาต่อรอง ในส่วนของ
บุคลากร ท้องถิ่นจำเป็นต้องมีการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการบริหาร
จัดการด้านการเงิน การบัญชี ตลอดจนการวิเคราะห์โครงการและการลงทุน ทั้งนี้ถ้าองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นมีผู้นำและบุคลากรที่ดีก็จะช่วยส่งเสริมให้การพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นมีโอกาสประสบ
ความสำเร็จมากยิ่งขึ้น
. . ข้อเสนอแนะอื่นๆ
ในการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยนั้นควรคำนึงถึง
ศักยภาพและทรัพยากรของท้องถิ่นเองเป็นหลัก กล่าวคือ การพัฒนาเศรษฐกิจต้องคำนึงถึงระดับ
ความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่ง ท้องถิ่นที่มีขนาดใหญ่และมีศักยภาพสูง
ในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านการเงิน การพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นอาจใช้กลยุทธ์ในลักษณะของ
การสนับสนุนความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPPs) นอกจากการลงทุนร่วมกันเพื่อพัฒนา
สาธารณูปโภคและบริการสาธารณะพื้นฐานที่สำคัญ เช่น ระบบไฟฟ้าและประปา ระบบกำจัดขยะ และ
ระบบบำบัดน้ำเสีย ท้องถิ่นอาจริเริ่มการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดกลาง-ใหญ่ อาทิ ถนน
สะพาน สะพานเชื่อมระหว่าง 2 ประเทศในพื้นที่ที่ติดชายแดน สนามบิน ระบบการคมนาคมแบบราง
ระบบการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น ส่วนท้องถิ่นที่มีขนาดกลาง-เล็ก และมีศักยภาพ
ไม่มากนัก กลยุทธ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่อาจแตกต่างไป เช่น การพัฒนาบริการสาธารณะ
พื้นฐาน การอนุรักษ์และพัฒนาสถานที่ทางประวัติศาสตร์ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว (ตัวอย่างเช่นถนน
ถลาง จังหวัดภูเก็ต) การสร้างรายได้จากการนำเสนอและเผยแพร่วัฒนธรรมของท้องถิ่น (อาทิ
มหกรรมนกเขาชวาเสียงอาเซียน เทศบาลนครยะลา) และการสร้างแรงจูงใจทางการเงินเพื่อดึงดูด
การลงทุนของภาคธุรกิจ ซึ่งกลยุทธ์หรือวิธีการในการพัฒนาเศรษฐกิจที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ของไทยดำเนินการอาจมีความแตกต่างหรือเพิ่มเติมจากกลยุทธ์หลัก 3 ประการที่นำเสนอไปข้างต้น
เนื่องจากศักยภาพ อัตลักษณ์ และกรอบกฎหมายที่แตกต่างกัน (เช่น กฎหมายการกระจายอำนาจซึ่ง
ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำกิจกรรมบางอย่างได้และไม่ได้) แต่จุดประสงค์หลักที่เหมือนกัน
คือ การสร้างตัวคูณหรือมูลค่าทวีคูณทางเศรษฐกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
อาจสรุปโดยรวมได้ว่า การพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่น (Local economic development) เป็น
แนวทางที่สำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในลักษณะทวีคูณ
การพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ของท้องถิ่นควรมีการกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์ที่
ชัดเจน มีการวางแผนและการวิเคราะห์ที่ละเอียดรอบคอบ ตลอดจนการสนับสนุนที่ดีในเรื่องการเงิน
การพัฒนาคุณภาพบุคลากร และการดำเนินการตามแผนงาน การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาค
ส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ เอกชน องค์การไม่หวังผลประโยชน์ และภาคประชาชนก็มีส่วนสำคัญ
ต่อความสำเร็จในการนำกลยุทธ์และเครื่องมือต่างๆ ไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น