Page 355 - kpi16531
P. 355
33 นวัตกรรมการพัฒนารายได้
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นมีข้อควรระวังบางประการ ได้แก่
(1) อาจก่อให้เกิดผลกระทบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม กล่าวคือ การที่องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจมากเกินไป อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม
วัฒนธรรม วิถีชีวิตหรือค่านิยมในชุมชน เช่น การเกิดมลภาวะทางน้ำและอากาศ
การเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะ การเพิ่มขึ้นของค่านิยมด้านวัตถุนิยม หรือเกิดความ
ห่างเหินของคนในครอบครัว (ดังตัวอย่างที่เกิดขึ้นที่ตลาดน้ำอัมพวา จ.สมุทรสงคราม)
(2) ความล้มเหลวในการบริหารแผนหรือโครงการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการบริหาร
จัดการโครงการในกรณีที่มีการร่วมทุนกับภาคเอกชน ซึ่งแม้ว่า PPPs จะมีข้อดี
ในเรื่องการถ่ายโอนความเสี่ยงด้านต่างๆ ไปให้ภาคเอกชน แต่โครงการก็อาจล้มเหลว
ได้เนื่องจากการบริหารที่ผิดพลาดและสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจหรือสังคม
ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ตัวอย่างโครงการร่วมทุนที่ประสบความล้มเหลว เช่น
โครงการทางด่วนอินเดียน่า (Indiana Toll Road) ซึ่งเป็นโครงการร่วมทุนระหว่าง
ภาครัฐและเอกชนที่ใช้เงินลงทุนสูงแต่ปัจจุบันโครงการดังกล่าวได้ยื่นขอล้มละลายเพื่อ
ปรับโครงสร้างหนี้ เนื่องจากมีหนี้สินมาก และมีรายได้ต่ำกว่าที่คาดการณ์ (Puentes,
2014; Randazzo & Fitzgerald, 2014) ดังนั้น ในการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่น
ไม่ว่าจะใช้กลยุทธ์ใดก็ตามควรมีการวางแผนตั้งรับกับความเสี่ยงและความล้มเหลว
ที่ไม่คาดคิดอย่างเป็นระบบ เพื่อบรรเทาความเสียหายของผลกระทบที่เกิดขึ้น
. .2 ข้อเสนอแนะเชิงกฎหมาย
การพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้ากฎหมายไม่อนุญาตให้ดำเนินการ และ
จะเกิดขึ้นได้ยากถ้ากฎหมายไม่เอื้ออำนวย จากข้อจำกัดด้านกรอบกฎหมายในข้อ 4.1 พบว่า
กฎหมายสำคัญที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นและควรได้รับการแก้ไขให้มีความ
ยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้นเพื่อส่งเสริมความพยายามในการกระจายอำนาจของรัฐบาลกลางและการพัฒนา
ศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น (1) รัฐธรรมนูญ มาตรา 87 ซึ่งกำหนดให้องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น “ห้ามประกอบกิจการที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับเอกชน เว้นแต่มีความ
จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ รักษาผลประโยชน์ส่วนรวม หรือการจัดให้มี
สาธารณูปโภค” (2) พระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของ
รัฐ พ.ศ. 2556 (3) พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.
2551) ในเรื่องของอำนาจในการกู้เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น
กฎหมายดังกล่าวส่งผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถริเริ่มและดำเนินโครงการ
พัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่บางประเภทได้ ทั้งๆ ที่อาจเป็นโครงการที่ภาครัฐสามารถดำเนินการได้ดีและ
มีประสิทธิภาพมากกว่าภาคเอกชน หรือเป็นโครงการที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนและช่วยเพิ่มพูน
รายได้ให้แก่ประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอง ทั้งนี้ การกำหนดกรอบกฎหมายเพื่อ
ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นควรมีความยืดหยุ่น และเปิดโอกาสให้องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นได้แสดงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ ยิ่งไปกว่านั้น กฎหมาย
ต้องมีการปรับแก้ให้ทันสมัยและมีความเหมาะสมต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของ