Page 350 - kpi16531
P. 350
นวัตกรรมการพัฒนารายได้ 333
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
< พระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ก่อให้
เกิดข้อจำกัดบางประการแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินการพัฒนา
เศรษฐกิจในพื้นที่ กล่าวคือ ถึงแม้ว่าภาครัฐและเอกชนจะมีการส่งเสริมความร่วมมือ
ในการทำงานหรือดำเนินโครงการต่างๆ ในหลากหลายรูปแบบ เช่น การจัดซื้อจัดจ้าง
การเช่าซื้อ ฯลฯ แต่ข้อจำกัดของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนที่มีผลต่อ
การพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่น ณ ที่นี้เกิดขึ้นในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีมูลค่า
หนึ่งพันล้านบาทขึ้นไปหรือมูลค่าที่กำหนดเพิ่มขึ้นตามกฎกระทรวง (มาตรา 23)
ทั้งนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถูกจำกัดอำนาจในการกู้ ทำให้ไม่สามารถกู้เงิน
ไปลงทุนในโครงการที่มีขนาดใหญ่และมูลค่าการลงทุนสูงได้ หรือ การร่วมทุนระหว่าง
ภาครัฐและเอกชนในโครงการบางประเภทต้องใช้วงเงินมากกว่า 1,000 ล้านบาท
ซึ่งระเบียบกฎหมายดังกล่าวก่อให้เกิดความยุ่งยากและเสียเวลาในขั้นตอนของการขอ
อนุญาตดำเนินโครงการ กล่าวโดยสรุปคือ วงเงินที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. อาจเป็น
อุปสรรคสำคัญที่ทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนได้ยากยิ่งขึ้น
นอกจากนั้น การร่วมดำเนินกิจการของภาครัฐควรเปิดกว้างมากขึ้นในกรณีที่ภาครัฐ
หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องการร่วมทุนดำเนินโครงการพัฒนาเศรษฐกิจ
ในท้องถิ่นร่วมกัน
< ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดหาประโยชน์ในทรัพย์สินขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นกู้ยืมเงิน เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ถูกจำกัดอำนาจในการ
กู้ยืมเงินและการหารายได้ ทำให้ไม่มีศักยภาพเพียงพอในการลงทุนขนาดกลางหรือ
ขนาดใหญ่
< ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2553 ซึ่งกำหนดเงื่อนไขในการจัด
ซื้อจัดจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระเบียบดังกล่าวในทางปฏิบัติก่อให้เกิด
ข้อจำกัดบางประการต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่น เช่น ระเบียบขั้นตอนปฏิบัติ
ที่ไม่มีความยืดหยุ่นหรือไม่มีความสมเหตุสมผลในทางปฏิบัติส่งผลให้เกิดความล่าช้า
ในการดำเนินโครงการพัฒนาเศรษฐกิจ ข้อจำกัดด้านระยะเวลาและค่าตอบแทน
ในการจัดซื้อจัดจ้างซึ่งส่งผลให้ภาคเอกชนรู้สึกถึงความไม่แน่นอนหรือมั่นคงต่อการ
จ้างงานนั้นๆ ของภาครัฐ
< ประเด็นข้อจำกัดอื่นๆ เกี่ยวกับระเบียบกฎหมาย ได้แก่ ระเบียบหรือกฎหมายที่
ล้าสมัยหรือไม่ชัดเจน เช่น ระเบียบวิธีการลงบัญชีแบบใช้เกณฑ์เงินสดซึ่งมีผลต่อ
การคำนวณค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน ทั้งนี้กรมบัญชีกลางอาจต้องเข้ามาจัดการ
และควบคุมรูปแบบการลงบัญชีให้มีความเป็นเอกภาพและเหมาะสม