Page 346 - kpi16531
P. 346
นวัตกรรมการพัฒนารายได้ 32
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
< เตาชุดที่ 1 สร้างโดยกรมโยธาธิการและผังเมืองในปี พ.ศ. 2538 มีมูลค่าการ
ลงทุนประมาณ 788 ล้านบาท สามารถกำจัดขยะได้ 250 ตันต่อวัน และผลิต
กระแสไฟฟ้าได้สูงสุด 2.5 เม็กกะวัตต์ ในปี พ.ศ. 2542 เตาเผาขยะดังกล่าว
ถูกถ่ายโอนให้แก่เทศบาลนครภูเก็ตดำเนินการกำจัดขยะต่อไป
< เตาชุดที่ 2 เป็นเตาเผาขยะชุมชนที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐและ
เอกชน ซึ่งได้แก่ เทศบาลนครภูเก็ต และ บริษัทพีเจที เทคโนโลยี จำกัด โดยมี
รูปแบบความร่วมมือแบบ Build-Own-Operate-Transfer (BOOT) และ
มีระยะเวลารับสัญญาลงทุนก่อสร้างและบริหาร 15 ปี ซึ่งเมื่อครบกำหนดระยะ
เวลาสัญญา ทางบริษัทจะโอนเตาเผาขยะชุมชนชุดที่ 2 นี้คืนให้แก่เทศบาล
เตาเผาขยะดังกล่าวใช้เทคโนโลยีแบบสโตกเกอร์ จำนวน 2 หัวเผา ก่อสร้างบน
พื้นที่ 10 ไร่ที่เทศบาลนครภูเก็ตจัดหาให้ มีมูลค่าการลงทุนประมาณ
994 ล้านบาท สามารถกำจัดขยะได้ 700 ตันต่อวัน และผลิตกระแสไฟฟ้าได้
สูงสุด 14 เม็กกะวัตต์ (เทศบาลนครภูเก็ต, การสื่อสารระหว่างบุคคล,
26 มิถุนายน 2557; OkNation.net, 2557)
อาจสรุปในภาพรวมได้ว่า การพัฒนาด้านเทคโนโลยีทำให้เตาเผาขยะชุดที่ 2
มีประสิทธิภาพในการกำจัดขยะมากกว่าเตาเผาขยะชุดที่ 1 ไม่ว่าจะเป็นด้านการลดรายจ่ายต่อตันใน
การกำจัดขยะ ความสามารถในการผลิตกระแสไฟฟ้าที่มากกว่า และความสามารถในการควบคุม
มลพิษที่เกิดขึ้นจากการเผาขยะ
ภาพที่ 17: เตาเผาขยะใช้เทคโนโลยีแบบสโตกเกอร์
ที่มา: Phuket Journal (2011). [http://www.phuketjournal.com/phuket-garbage-3198.html]
การก่อสร้างโรงเผาขยะมูลฝอยชุมชนและผลิตไฟฟ้าแห่งที่ 2 นอกจากจะเป็นการ
พัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นโดยใช้กลยุทธ์ด้านการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนแล้ว
ยังถือเป็นการพัฒนาบริการสาธารณะพื้นฐานด้วย เตาเผาขยะชุดที่ 2 ช่วยบรรเทาและแก้ไขปัญหา
การกำจัดขยะมูลฝอยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในจังหวัดภูเก็ต และช่วยลดปัญหามลพิษที่อาจเกิดจาก
การสะสมของขยะ ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบในด้านลบต่อชุมชน สิ่งแวดล้อม และแหล่งท่องเที่ยว