Page 343 - kpi16531
P. 343

32       นวัตกรรมการพัฒนารายได้
                ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


                            การสร้างและประกอบกิจการของโรงพยาบาล อบจ. ภูเก็ต นอกจากจะเป็นการ
               พัฒนาบริการสาธารณะพื้นฐานซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนนักท่องเที่ยวแล้ว

               ยังเป็นการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพและบริการด้านสาธารณสุขที่ดีทางอ้อม รวมทั้งอาจช่วยลดค่าใช้
               จ่ายของประชาชนในการใช้บริการทางการแพทย์  กล่าวคือ การดำเนินงานให้บริการของโรงพยาบาล
               อบจ. ภูเก็ต กระตุ้นให้เกิดการแข่งขันและการปรับตัวในการให้บริการด้านสาธารณสุขของ
               สถานพยาบาลอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนใน จ.ภูเก็ต   บริการที่ดีและมีราคาถูกกว่าโรงพยาบาล

               เอกชนสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของประชาชนทำให้มีเงินเหลือไปลงทุนหรือจับจ่ายใช้สอย
               ในด้านอื่นๆ มากยิ่งขึ้น ตลอดจนเป็นการส่งเสริมการจ้างงานในท้องถิ่นอีกด้วย

                          = สนามบินสุรินทร์ภักดี  จ. สุรินทร์


                            สนามบินหรือท่าอากาศยานสุรินทร์ภักดี (Surin Royal Airport) เกิดจากความคิด
               ริเริ่มของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ สนามบินแห่งนี้ใช้เงินลงทุนจำนวน 30 ล้านบาท

               และเปิดให้บริการด้านการบินพาณิชย์เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2545  มีสายการบินที่มาใช้เส้นทางบิน
               เช่น สายการบินบางกอกแอร์เวย์ สายการบินแอร์อันดามัน และสายการบินพีบีแอร์ แต่ภายหลัง
               สายการบินเหล่านี้ต้องยกเลิกเส้นทางนี้ไปเนื่องจากปัญหาขาดทุนหรือปัญหาทางการเงินของ

               สายการบิน ทำให้สนามบินสุรินทร์ภักดีต้องปิดการให้บริการไป แต่ในปี พ.ศ. 2555 นี้ อบจ.สุรินทร์
               มีนโยบายที่จะพัฒนาและเปิดการบินในเชิงพาณิชย์ที่สนามบินสุรินทร์ภักดีอีกครั้ง โดยมีวัตถุประสงค์
               สำคัญ คือ (1) เพื่อกระตุ้นการลงทุนและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของท้องถิ่น, (2) เพื่อเป็น
               ศูนย์กลางการบินในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ-ใต้ โดยเชื่อมต่อกับสนามบินอื่นๆ ของท้องถิ่นใน

               ภูมิภาคและสนามบินของประเทศใกล้เคียง เช่น กัมพูชา และเวียดนาม ทั้งนี้การเป็นศูนย์กลาง
               ดังกล่าวจะช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้นักท่องเที่ยวและนักธุรกิจทั้งชาวไทยและ

               ชาวต่างชาติ รวมทั้งรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี พ.ศ. 2558  และ
               (3) เพื่อเป็นการสร้างงานและสร้างรายได้ให้กับชุมชนและประชาชนในท้องถิ่นผ่านการลงทุนพัฒนา
               สนามบิน ซึ่งจะก่อให้เกิดกิจกรรมและตัวคูณทางเศรษฐกิจในด้านอื่นๆ อาทิ  การขยายตัวทางการ
               ท่องเที่ยวและการลงทุน  และการค้าขายในบริเวณชายแดน  (คำกอง กันนุฬา, 2557)


                            การพัฒนาท่าอากาศยานสุรินทร์ภักดีดำเนินการโดยกรมการบินพลเรือน
               กระทรวงคมนาคม โดย อบจ.สุรินทร์เป็นผู้ให้การสนับสนุน การที่ อบจ.สุรินทร์ ต้องดำเนินการเช่นนี้
               เกิดจากการทักท้วงจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินว่า อบจ.สุรินทร์ ไม่สามารถดำเนินการพัฒนา

               สนามบินได้ เนื่องจากตามกฎหมายการกระจายอำนาจฯ ไม่ได้ให้อำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
               ดำเนินการภารกิจดังกล่าว จังหวัดสุรินทร์จึงต้องมอบหมายให้กรมการบินพลเรือนดำเนินการแทน

               (กำชัย วันสุข, 2556)

                          = เครือข่ายพัฒนาระบบโลจิสติกส์  เทศบาลเมืองทุ่งสง  จ.นครศรีธรรมราช

                            “ระบบโครงข่ายคมนาคมขนส่ง (โลจิสติกส์) และโครงการศูนย์กระจายสินค้า

               ภาคใต้ - ทุ่งสง (Cargo Distribution Center - Thungsong)” เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากการนำเสนอ
               ของตัวแทนสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช และได้รับการผลักดันโดยนายภาณุ  อุทัยรัตน์
               ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราชในขณะนั้น โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นจากการส่งเสริมความร่วมมือ
   338   339   340   341   342   343   344   345   346   347   348