Page 340 - kpi16531
P. 340
นวัตกรรมการพัฒนารายได้ 323
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์การให้แรงจูงใจทางการเงินไม่เป็นที่นิยมมากนักในองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยเนื่องจากท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่จำกัดในการตัดสินใจให้สิทธิในการ
ลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีหลายๆ ประเภทให้แก่ภาคธุรกิจ ซึ่งอำนาจหน้าที่ดังกล่าวเป็นของรัฐบาล
แห่งชาติหรือหน่วยงานของรัฐบาลแห่งชาติ เช่น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)
และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เป็นต้น
4.3.3.2. การพัฒนาบริการสาธารณะพื้นฐาน (Public improvement)
= การแบ่งเขตการลงทุน (Investment zoning)
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Thailand Board of Investment:
BOI) ได้กำหนดเขตส่งเสริมการลงทุน (Investment Promotion Zones) ออกเป็น 3 เขต ดังต่อไปนี้
(ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ในเดือนมกราคม 2558)
< เขตพื้นที่ 20 จังหวัดที่มีรายได้ต่อหัวต่ำ (Low per capita income) ซึ่ง
ประกอบด้วย กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ นครพนม น่าน บึงกาฬสบุรีรัมย์ แพร่
มหาสารคาม มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สกลนคร
สระแก้ว สุโขทัย สุรินทร์ หนองบัวลำภู อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ
< เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
< เขตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology Park) ที่ได้รับการ
ส่งเสริมหรือได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ
ซึ่งเขต (รวมทั้งนโยบายและหลักเกณฑ์) ส่งเสริมการลงทุนดังกล่าวได้รับการ
ทบทวนและปรับครั้งล่าสุดในเดือนมกราคม 2558 เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
ของประเทศไทยและโลก เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบัน
ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจใน 3 ด้านหลัก ได้แก่ ด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และธุรกิจบริการ
รวมทั้งเพื่อส่งเสริมความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ และการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนต่อไป
(Board of Investment, 2015)
= การกำหนดเขตเฉพาะ (Zoning) ด้านเกษตรกรรม
สมัยรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้มีการจัดพื้นที่และกำหนดเขต
เกษตรกรรม หรือที่เรียกว่านโยบายเกษตรโซนนิ่ง (Agricultural zoning) โดยมีแนวคิดหลัก คือ
การทำโซนนิ่งปรับเปลี่ยนการปลูกพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ กล่าวคือ การจัดโซนนิ่งปลูกพืชที่ให้
ผลตอบแทนดี สอดคล้องกับศักยภาพของท้องถิ่นและให้ผลตอบแทนที่เหมาะสม และมีการประกัน
ราคาผลผลิตดังกล่าว จุดประสงค์หลักของนโยบายเกษตรโซนนิ่ง ได้แก่ เพื่อแก้ปัญหาราคาพืชผล
ทางการเกษตรตกต่ำและล้นตลาด โดยรัฐบาลได้กำหนดให้มีพืชเศรษฐกิจนำร่อง 6 ชนิด ได้แก่
ข้าว ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง ยางพารา อ้อยโรงงาน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (ธิดา จิราสิต, 2556)
กล่าวคือ ถ้าหากจังหวัดนั้นๆ สามารถปลูกพืชชนิดนั้นแล้วได้ผลผลิตดีให้จัดเป็นพื้นที่ (Zoning)
ในการปลูกพืชชนิดนั้น ทั้งนี้ การจัดพื้นที่ดังกล่าวจะคำนึงถึงสภาวะแวดล้อม ภูมิอากาศ โรงงาน