Page 344 - kpi16531
P. 344

นวัตกรรมการพัฒนารายได้     32
                                                                                 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


                 ของภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐส รัฐวิสาหกิจ เอกชน และประชาสังคม โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ
                 แก้ไขปัญหาด้านต้นทุนการขนส่ง ส่งเสริมให้อำเภอทุ่งสงเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าของภาคใต้

                 เพิ่มศักยภาพทางการแข่งขัน และส่งเสริมการค้าขายและการลงทุนในพื้นที่ให้มากขึ้น ทั้งนี้ นายทรงชัย
                 วงษ์วัชรดำรง นายกเทศมนตรีเมืองทุ่งสงได้เสนอพื้นที่บริเวณหมวดศิลา ซึ่งเป็นที่ดินของการรถไฟ
                 แห่งประเทศไทย จำนวน 85.43 ไร่ เป็นที่ตั้งโครงการเพื่อพัฒนาเป็นศูนย์กระจายสินค้าดังกล่าว
                 (วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น  สถาบันพระปกเกล้า, 2554; มูฮำหมัด ดือราแม, 2554)


                               โครงการพัฒนาศูนย์กระจายสินค้า (ระบบราง) ภาคใต้ – ทุ่งสง ได้รับการ
                 สนับสนุนจากรัฐบาลและได้รับความช่วยเหลือด้านเทคนิคจาก Cities Development Initiative For
                 Asia (CDIA) ของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank – ADB) โดยการ

                 สนับสนุนของกระทรวงมหาดไทย นอกจากนั้นโครงการพัฒนาศูนย์กระจายสินค้า ภาคใต้ – ทุ่งสง
                 ยังเป็นส่วนหนึ่งของกรอบความร่วมมือระหว่าง 3 ประเทศ ภายใต้แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจ

                 สามฝ่าย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย (Indonesia Malaysia Thailand Growth Triangle: IMT-GT)
                 เม็ดเงินที่ใช้ในการลงทุนพัฒนาระบบโครงข่ายคมนาคมขนส่งนี้จะช่วยสร้างงานและสร้างรายได้ให้แก่
                 ประชาชน รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และอาจส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
                 ในภูมิภาคต่อไปในอนาคต (เทศบาลเมืองทุ่งสง, 2552; มูฮำหมัด ดือราแม, 2554)


                       4.3.3.3. การสนับสนุนความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public-private
                 partnerships: PPPs)


                             = รถไฟฟ้า BTS, กทม.

                               โครงการรถไฟฟ้า BTS ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นโครงการการลงทุนที่

                 กรุงเทพมหานครได้ให้สัมปทานกับบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เพื่อพัฒนา
                 และดำเนินการโครงการรถไฟฟ้า โดยมีอายุสัญญา 30 ปี  (พ.ศ. 2542 – 2572)  โดยบริษัทเอกชน
                 เป็นผู้ลงทุนในโครงการทั้งหมด และโอนกรรมสิทธิ์ให้กับ กทม. ภายหลังก่อสร้างเสร็จ ในขณะที่

                 บริษัทฯ สามารถจัดเก็บรายได้ตลอดช่วงอายุสัมปทาน (คงขวัญ ศิลา, 2553)  ปัจจุบันโครงการ
                 รถไฟฟ้า BTS   มีการขยายเส้นทางการเดินรถอีกหลายเส้นทาง และเปิดโอกาสให้บริษัทเอกชนอื่นๆ
                 เข้ามาลงทุนในการสร้างและขยายเส้นทางดังกล่าว


                               โครงการรถไฟฟ้า BTS ตอบสนองต่อการขยายตัวของเมือง ช่วยบรรเทาปัญหา
                 การจราจรติดขัดในกรุงเทพมหานคร  ก่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการเดินทางและติดต่อธุรกิจ
                 ต่างๆ ทำให้ประหยัดเวลาและช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจในทางอ้อม ยิ่งไปกว่านั้นโครงการรถไฟฟ้า

                 BTS ยังช่วยกระตุ้นและดึงดูดการลงทุนของภาคเอกชน โดยเฉพาะการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์
                 เช่น คอนโด ที่พักอาศัย และห้างสรรพสินค้าต่างๆ ในบริเวณที่เป็นเส้นทางการเดินรถ ซึ่งก่อให้เกิด
                 ตัวคูณทางเศรษฐกิจและส่งผลดีต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานครต่อไป
   339   340   341   342   343   344   345   346   347   348   349