Page 349 - kpi16531
P. 349

332      นวัตกรรมการพัฒนารายได้
                ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


                . .1 ข้อจำกัดหรืออุปสรรคด้านกรอบกฎหมาย

                      ผลจากการประชุมสนทนากลุ่มย่อย (Focus groups) โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง ข้อเสนอ

                                                                             5
               เชิงนโยบายนวัตกรรมการพัฒนารายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ในหัวข้อการพัฒนาเศรษฐกิจ
               ในพื้นที่พบว่า กฎหมายบางบทก่อให้เกิดข้อจำกัดในการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ขององค์กรปกครอง
               ส่วนท้องถิ่น  เช่น


                         < รัฐธรรมนูญ มาตรา 87 กำหนดแนวทางของรัฐในการดำเนินการตามแนวนโยบาย
                             ด้านเศรษฐกิจ ดังนี้ สนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีและเป็นธรรมโดยอาศัยกลไก
                             ตลาด และสนับสนุนให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยต้องยกเลิกและละเว้น

                             การตรากฎหมายและกฎเกณฑ์ที่ควบคุมธุรกิจซึ่งมีบทบัญญัติที่ไม่สอดคล้องกับความ
                             จำเป็นทางเศรษฐกิจ และต้องไม่ประกอบกิจการที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับ
                             เอกชน เว้นแต่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ รักษา

                             ผลประโยชน์ส่วนรวม หรือการจัดให้มีสาธารณูปโภค

                               จากการที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 87 กำหนดให้รัฐไม่สามารถประกอบกิจการที่มี
                             ลักษณะเป็นการแข่งขันกับเอกชนได้นั้น  และจากการตีความรัฐธรรมนูญมาตรา

                             ดังกล่าวของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาโดยการพิจารณากรณีตัวอย่างเกี่ยวกับ
                             การที่เทศบาลตำบลแม่สอด จังหวัดตาก และเทศบาลตำบลแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี
                             มีความประสงค์จะทำธุรกิจเคเบิลทีวีในเขตเทศบาลนั้น  (สำนักงานคณะกรรมการ
                                                                               6
                             กฤษฎีกา, 2544) พบว่า กฎหมายดังกล่าวเป็นข้อจำกัดสำคัญที่ทำให้องค์กร
                             ปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยไม่สามารถริเริ่มหรือดำเนินโครงการพัฒนาเศรษฐกิจ
                             ในพื้นที่ได้เท่าที่ควร  เนื่องจากหลายๆ โครงการมักถูกตีความว่าเป็นการประกอบ

                             กิจการแข่งกับเอกชน




                  5   การประชุมสนทนากลุ่มย่อย (Focus groups) โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบายนวัตกรรม
               การพัฒนารายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดขึ้นในวันที่ 30-31 กรกฎาคม 2557 โดยการประชุมในหัวข้อ
               การพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นจัดขึ้นในวันที่ 31 กรกฎาคม 2557
                  6   คณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณาและให้ความเห็นว่า “เทศบาลจะประกอบกิจการเคเบิลทีวีได้หรือไม่นั้น
               ต้องพิจารณาจากบทบัญญัติอันเป็นอำนาจของเทศบาล ซึ่งอาจเป็นบทบัญญัติในพระราชบัญญัติเทศบาล

               พ.ศ. 2496 หรือกฎหมายอื่นใดที่บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาลที่จะกระทำได้ ในส่วนของบทบัญญัติที่เกี่ยวกับ
               อำนาจและหน้าที่ของเทศบาลในพระราชบัญญัติเทศบาลฯ นั้น แม้จะมิได้มีบัญญัติไว้โดยตรงว่า เทศบาลสามารถ
               กระทำกิจการเคเบิลทีวีได้ แต่เมื่อพิจารณามาตรา 16*[1] แห่งพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจาย
               อำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2496 กำหนดให้เทศบาลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการ
               สาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองได้ และให้มีการจัดการสาธารณูปโภคเป็นอำนาจหน้าที่
               ประการหนึ่ง  ฉะนั้นหากพิจารณาได้ว่าการจัดทำกิจการเคเบิลทีวีของทั้งสองเทศบาลได้กระทำไปโดยมีวัตถุประสงค์
               หลักเพื่อเป็นการให้บริการและตอบสนองความต้องการของประชาชน  โดยมิใช่เป็นการทำเพื่อการค้าแล้ว (กล่าวคือ
               มิได้เรียกเก็บเงินค่าสมาชิกหรือค่าบริการใดๆ จากประชาชนผู้ใช้บริการนอกจากการมีค่าใช้จ่ายสำหรับการต่อสายจาก
               สายส่งหลักของเทศบาล และค่าซ่อมแซมบำรุงรักษาเล็กน้อย)  ก็ชอบที่จะกระทำได้ (บันทึกสำนักงานคณะกรรมการ
               กฤษฎีกา, 2544)”
   344   345   346   347   348   349   350   351   352   353   354