Page 348 - kpi16531
P. 348

นวัตกรรมการพัฒนารายได้     331
                                                                                 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


                         ทางเรือ ปัจจุบันนอกจากพ่อค้าและแม่ค้าที่พายเรือมาขายอาหารและสินค้าต่างๆ ในช่วงเย็น
                         ของวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์แล้ว ยังมีการจัดให้บริการท่องเที่ยวชมหิ่งห้อยยามค่ำคืน

                         บริการนำเที่ยวทางเรือในพื้นที่ใกล้เคียงตลาดน้ำอัมพวา และบริการที่พักเพื่อให้นักท่องเที่ยว
                         ได้สัมผัสกับวิถีชีวิตของชาวอัมพวาอย่างแท้จริง  จากการพัฒนาเศรษฐกิจในรูปแบบ
                         ดังกล่าว เทศบาลอัมพวาได้รับรางวัลชุมชนอนุรักษ์ดีเด่นในปี 2545 จากสมาคมสถาปนิก
                         สยามในพระบรมราชูปถัมภ์ และได้รับรางวัลชมเชยด้านการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม

                         จากองค์การยูเนสโก ภาคพื้นทวีปเอเชียแปซิฟิก (UNESCO Asia-Pacific Heritage
                         Award) ประจำปี 2008 ที่สำคัญกว่านั้นคือ ตลาดน้ำอัมพวาได้สร้างงาน สร้างรายได้ และ

                         สร้างความภาคภูมิใจให้แก่ชาวอัมพวา อย่างไรก็ตาม การเจริญเติบโตที่รวดเร็วของธุรกิจ
                         ท่องเที่ยวตลาดน้ำอัมพวาทำให้เกิดปัญหาในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ผลกระทบด้าน
                         สิ่งแวดล้อม  ผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนในชุมชน และปัญหาหนี้สินของชาวบ้านที่ขาดทุน
                         จากการลงทุนประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในอัมพวา ฯลฯ  (วลัยลักษณ์ ทรงศิริ, ม.ป.ป.) ดังนั้น

                         บทเรียนประการหนึ่งที่สำคัญจากการพัฒนาตลาดน้ำอัมพวา ได้แก่ ความจำเป็นในการ
                         วางแผนและการคำนึงถึงความยั่งยืนของการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนในระยะยาว

                         โดยสรุป การพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยเน้นการใช้

                 กลยุทธ์ในรูปแบบของการพัฒนาบริการสาธารณะพื้นฐาน โครงการที่สนับสนุนความร่วมมือระหว่าง
                 ภาครัฐและเอกชน  รวมทั้งกลยุทธ์การสร้างมูลค่าเพิ่มจากเอกลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                 ทั้งนี้เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยมีอำนาจจำกัดในการใช้เครื่องมือทางภาษีซึ่งเป็นอำนาจ
                 การตัดสินใจของรัฐบาลกลางหรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม
                 การลงทุน และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ดังนั้นการใช้กลยุทธ์ด้านแรงจูงใจ
                 ทางการเงินจึงไม่เป็นที่นิยมมากนักในท้องถิ่นไทย นอกจากนั้นภาวะผู้นำเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญ

                 มากต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นของไทย กล่าวคือ เนื่องด้วยโครงสร้างการปกครองแบบรวม
                 ศูนย์อำนาจของไทย  แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจรวมทั้งงบประมาณส่วนใหญ่มาจากส่วนกลาง
                 จึงทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่งขาดความคิดริเริ่มและความกระตือรือร้นในการพัฒนา

                 เศรษฐกิจในพื้นที่ของตน ยกเว้นท้องถิ่นบางแห่งที่มีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ กล้าคิดและกล้าทำ ส่งผลให้เกิด
                 โครงการหรือกิจกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นที่สามารถสร้างรายได้และก่อให้เกิดประโยชน์แก่
                 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น




                  .  บทวิเคราะห์สภาพปัญหาที่เกิดขึ้น



                       จากการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนารายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยและ
                 การศึกษาวิจัยโดยการประชุมสนทนากลุ่มย่อย (Focus groups) พบว่า การพัฒนารายได้ขององค์กร

                 ปกครองส่วนท้องถิ่นโดยวิธีการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่น (Local economic development: LED)
                 นั้นมีปัญหา ข้อจำกัด หรืออุปสรรคหลายประการ  อาทิ
   343   344   345   346   347   348   349   350   351   352   353